EN/TH
EN/TH
หน้าแรก>Khonthai 4.0 Academy>วิดีโอ>การปั่นฝ้ายไกโบราณ
การปั่นฝ้ายไกโบราณ

คลิปวีดีโอถ่ายทอดองค์ความรู้การเรียนการสอนการปั่นฝ้ายไกโบราณจากโครงการอบรมถ่ายทอดความรู้การทอผ้าโดยเทคนิคการเกาะล้วงและการทอผ้าลายไกโบราณ (หางกระรอก) เป็นผลผลิตภายใต้โครงการชุมชนภิวัตน์ซึ่งจัดทำโดย นางสาวทัญกานร์ ยานะโส หมู่บ้านเชิงดอย ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

การทําเส้นตีเกลียว

  1. นําเส้นฝ้ายสองเส้นสีละเส้นมาตีเกลียวเข้าด้วยกันโดยใช้อุปกรณ์ที่สําคัญในการตีเกลียวเพื่อให้ได้เส้นยาว คือเฝี่ยน(ที่ใช้ในการปั่นฝ้าย) 
  2. เมื่อได้ความยาวของเส้นที่ตีเกลียวแล้วจึงนําเส้นฝ้ายออกจากในเฝี่ยนโดยวิธีการกวัก โยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเปี๋ย (เหนือ)
    *การตีเกลียวต้องทําสลับซ้ายขวา ตามความถนัดของช่างฟั่นเกลียว
  3. เมื่อได้ทั้งซ้ายและขวาแล้วนํามาพันเก็บ โดยการขมวดหรือทําเป็นลูกบอลกลม ๆ เก็บแยกไว้ เกลียวซ้าย-ขวาการทอทําให้เกิดลายหางกระรอก
  4. นําเส้นฝ้ายที่ตีเกลียวซ้ายและขวา มาปั่นใส่แกนหลอด โดยแยกแกนหลอด 2 อัน ใส่เกลียวซ้าย 1 อัน ใส่เกลียวขวา 1 อัน (2กระสวย)
  5. เริ่มการทอโดยทอบนกี่ที่มีเส้นยืน(เครือผ้า) พุ่งสลับกระสวยที่มีเกลียวซ้ายขวาทอเหมือนทอผ้าทั่วไปซ้าย 10 ครั้ง หรือขวา 10 ครั้ง หรือมากว่านั้นให้สังเกตที่ลายทอจะออกมาเหมือนลายหางกระรอก (ลายไกทางภาคเหนือ)

*ข้อควรระวัง การตีเกลียวและการทอผ้าจะต้องคอยจดจํา เกลียวซ้ายหรือขวา การพุ่งสลับในการทอจะต้องจําให้แท่นว่าพุ่งสลับกี่ครั้ง เพื่อให้ได้ลายผ้าทอที่สวยงาม

วิดีโอในหมวดหมู่เดียวกัน
ดูทั้งหมด >>