EN/TH
EN/TH
กลุ่มขับเคลื่อน>อ-Young Smart Farmer 4.0 (YF 4.0) และการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยเพื่อสร้าง YSF 4.0-อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ และคณะ
อ-Young Smart Farmer 4.0 (YF 4.0) และการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยเพื่อสร้าง YSF 4.0-อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ และคณะ
ผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร. อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 20 กรกฎาคม 2022
จำนวนผู้เข้าชม 193 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 10 ครั้ง

โครงการ “Young Smart Farmer 4.0 (YSF 4.0) และการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยเพื่อสร้าง YSF 4.0” มี วัตถุประสงค์3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินตนเองด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้าง Young Smart Farmer 4.0 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ของนักวิชาการ Young Smart Farmer ตลอดจนภาคี/เครือข่าย ทั้งภาครัฐ และภาคธุรกิจ ให้สามารถระบุทิศทางการพัฒนาเกษตร 4.0 และ YoungSmart Farmer 4.0 และ 3) เพื่อจัดกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge management) ระหว่างคณะทํางานจาก 4 มหาวิทยาลัย ซึ่งนําไปสู่การจัดทํากลยุทธ์และแผนการสร้าง YSF 4.0 โครงการนี้ ปรับใช้วิธีวิทยาวิจัย Research and Development เก็บข้อมูล จากกิจกรรมประเมินตนเองด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ 4 มหาวิทยาลัย การเสวนาประสบการณ์และบทเรียนของ YSF 4.0 และ ประสบการณ์ของมหาวิทยาลัยในการสร้าง YSF 4.0 และการประชุมคณะทํางาน 4 มหาวิทยาลัยเพื่อกําหนดกลยุทธ์ และพัฒนาแผนการสร้าง YSF 4.0 ในรูปของ โครงการ Sandbox

ผลการวิจัย พบว่า การประเมินความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี (Self-Assessment on Technology) จํานวน 4 มหาวิทยาลัย มีเนื้อหาประกอบด้วย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จํานวน 10 ประเด็น ที่สามารถสร้าง Young Smart Farmer 4.0 นอกจากนี้ YSF สามารถจัดการฟาร์มได้ดีตลอดกระบวนการผลิตแปรรูป ตลาด Logistic และ เป็นแหล่งเรียนรู้ได้อย่างดีของเกษตรกรรุ่นใหม่ ตลอดจน นักวิชาการและนักศึกษา รวมทั้ง ยังสามารถสร้างความร่วมมือกับภาคีทุกมิติอย่างต่อเนื่อง ในการ Co-create practical knowledge ของโจทย์ใหม่ๆ ส่วนผู้ที่หันมาทําการเกษตรมือใหม่ ยังต้องการความรู้จากนักวิชาการและภาคีอื่นๆ โดยเฉพาะ ด้านการแปรรูป มาตรฐานผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ และทักษะการจัดทําแผนธุรกิจชุมชน (Community Business Model Canvas) ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของนักวิชาการในมหาวิทยาลัยอย่างยิ่ง ที่จะสร้างความร่วมมือในการ Co-creation of practical knowledge ตลอด ห่วงโซ่การผลิต การแปรรูปและการตลาด สําหรับ เกษตรกรในพื้นที่ Area-based มีความต้องการพัฒนาเกษตรกร ตั้งแต่เยาวชนไปจนถึงProfessional farmer ดังนั้น นักวิชาการมหาวิทยาลัย ต้องปรับตัวให้สามารถสร้างการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมเยาวชน เกษตรกรมือใหม่ เกษตรกรอัจฉริยะ จนถึงเกษตรกรมืออาชีพ