อ-Young Smart Farmer 4.0 (YF 4.0) และการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยเพื่อสร้าง YSF 4.0-อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ และคณะ
ผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร. อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 20 กรกฎาคม 2022

โครงการ “Young Smart Farmer 4.0 (YSF 4.0) และการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยเพื่อสร้าง YSF 4.0” มี วัตถุประสงค์3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินตนเองด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้าง Young Smart Farmer 4.0 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ของนักวิชาการ Young Smart Farmer ตลอดจนภาคี/เครือข่าย ทั้งภาครัฐ และภาคธุรกิจ ให้สามารถระบุทิศทางการพัฒนาเกษตร 4.0 และ YoungSmart Farmer 4.0 และ 3) เพื่อจัดกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge management) ระหว่างคณะทํางานจาก 4 มหาวิทยาลัย ซึ่งนําไปสู่การจัดทํากลยุทธ์และแผนการสร้าง YSF 4.0 โครงการนี้ ปรับใช้วิธีวิทยาวิจัย Research and Development เก็บข้อมูล จากกิจกรรมประเมินตนเองด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ 4 มหาวิทยาลัย การเสวนาประสบการณ์และบทเรียนของ YSF 4.0 และ ประสบการณ์ของมหาวิทยาลัยในการสร้าง YSF 4.0 และการประชุมคณะทํางาน 4 มหาวิทยาลัยเพื่อกําหนดกลยุทธ์ และพัฒนาแผนการสร้าง YSF 4.0 ในรูปของ โครงการ Sandbox

ผลการวิจัย พบว่า การประเมินความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี (Self-Assessment on Technology) จํานวน 4 มหาวิทยาลัย มีเนื้อหาประกอบด้วย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จํานวน 10 ประเด็น ที่สามารถสร้าง Young Smart Farmer 4.0 นอกจากนี้ YSF สามารถจัดการฟาร์มได้ดีตลอดกระบวนการผลิตแปรรูป ตลาด Logistic และ เป็นแหล่งเรียนรู้ได้อย่างดีของเกษตรกรรุ่นใหม่ ตลอดจน นักวิชาการและนักศึกษา รวมทั้ง ยังสามารถสร้างความร่วมมือกับภาคีทุกมิติอย่างต่อเนื่อง ในการ Co-create practical knowledge ของโจทย์ใหม่ๆ ส่วนผู้ที่หันมาทําการเกษตรมือใหม่ ยังต้องการความรู้จากนักวิชาการและภาคีอื่นๆ โดยเฉพาะ ด้านการแปรรูป มาตรฐานผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ และทักษะการจัดทําแผนธุรกิจชุมชน (Community Business Model Canvas) ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของนักวิชาการในมหาวิทยาลัยอย่างยิ่ง ที่จะสร้างความร่วมมือในการ Co-creation of practical knowledge ตลอด ห่วงโซ่การผลิต การแปรรูปและการตลาด สําหรับ เกษตรกรในพื้นที่ Area-based มีความต้องการพัฒนาเกษตรกร ตั้งแต่เยาวชนไปจนถึงProfessional farmer ดังนั้น นักวิชาการมหาวิทยาลัย ต้องปรับตัวให้สามารถสร้างการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมเยาวชน เกษตรกรมือใหม่ เกษตรกรอัจฉริยะ จนถึงเกษตรกรมืออาชีพ