EN/TH
EN/TH
กลุ่มความเชื่อและคุณธรรมศึกษา>ผลกระทบทางเทคโนโลยีในมโนสำนึกของชาวดิจิทัลไทย
ผลกระทบทางเทคโนโลยีในมโนสำนึกของชาวดิจิทัลไทย
โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 132 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 0 ครั้ง

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการรวบรวมคำศัพท์โดยการให้ชาวดิจิทัลเขียนระบุคำที่เกี่ยวข้องกับ “ผลกระทบทางเทคโนโลยี” ที่คิดขึ้นมาในระยะเวลาที่กำหนดให้ และเขียนออกมาให้ได้มากที่สุด หลังจากทำการสกัดคำต่าง ๆ จากการระบุคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบทางเทคโนโลยี โดยจำแนกตามกลุ่มอายุของชาวดิจิทัล 5 กลุ่มอายุ และพื้นที่ที่ทำการเก็บข้อมูล 3 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และนครพนม พบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้


หากพิจารณาเฉพาะผลกระทบจากเทคโนโลยีของชาวดิจิทัลในเขตกรุงเทพฯ พบว่าการใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านมีทั้งมากและน้อยแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับช่วงอายุและการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน

• ซึ่งชาวดิจิทัลช่วงอายุ 13-15 ปี คิดว่าเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อร่างกาย ความเกียจคร้าน และด้านจิตใจ และยังรวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบเชิงลบที่ส่งผลกระทบมากที่สุดในการใช้เทคโนโลยี

• ต่อมากลุ่มอายุ 16-18 ปี คิดว่าเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการเกิดอาชญากรรม อาการเสพติดสื่อออนไลน์ ผลกระทบต่อร่างกาย และรวมไปถึงความขัดแย้ง ซึ่งช่วงอายุนี้เป็นช่วงอายุที่กำลังอยากรู้ อยากเห็น ชอบเลียนแบบ และจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่เสนอโดยสื่อ

• ต่อมากลุ่มอายุ 19-23 ปี คิดว่าการใช้เทคโนโลยีส่งผลกระทบทางร่างกายมากที่สุด ซึ่งอาจมาจากเป็นช่วงอายุที่มีการใช้เทคโนโลยีมาประกอบกับการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มอายุ 24-29 ปี

• ในขณะที่กลุ่มอายุ 30-38 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มช่วงอายุวัยทำงานนั้นคิดว่า เทคโนโลยีส่งผลกระทบการเกิดอาชญากรรมมากที่สุด รองลงมาจะเป็นผลกระทบทางร่างกาย ค่าใช้จ่ายที่สูง ความเป็นส่วนตัวน้อยลง ปัญหาสิ่งแวดล้อม อาการเสพติด รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ลดน้อยลง เป็นต้น


เมื่อเปรียบเทียบชาวดิจิทัลในพื้นที่นครพนมและเชียงใหม่ จะเห็นได้ว่า ชาวดิจิทัลในนครพนมมีมุมมองต่อผลกระทบทางเทคโนโลยีที่มีความหลากหลายใกล้เคียงกับในจังหวัดเชียงใหม่ แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นประเด็นเชิงลบอย่างเห็นได้ชัด เมื่อพิจารณาในภาพรวมเห็นได้ว่าประเด็นหลักยังคงเป็นประเด็นเดียวกับที่พบในจังหวัดเชียงใหม่ แต่อาจจะสัมพันธ์กับแต่ละกลุ่มอายุแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น

• ในขณะที่ปัญหาอาชญากรรมดูจะเป็นประเด็นที่ชาวดิจิทัลกลุ่มอายุ 30-38 ปีในจังหวัดเชียงใหม่คำนึงถึงมากที่สุด แต่ในพื้นที่จังหวัดนครพนมเป็นกลุ่มอายุ 19-23 ปีที่คำนึงถึงเรื่องนี้กันเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่กลุ่มอายุ 30-38 ปี ในจังหวัดนครพนมนึกถึงผลกระทบทางเทคโนโลยีในแง่ที่เกี่ยวข้องกับความสะดวกสบายและความรวดเร็วมากกว่ากลุ่มอื่น

• ส่วนในประเด็นเรื่องผลกระทบด้านการเสพติดเทคโนโลยีจะพบในกลุ่มชาวดิจิทัลในกลุ่มระดับชั้นมัธยมศึกษาทั้งในพื้นที่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และนครพนม โดยในพื้นที่เชียงใหม่จะเกิดในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า คือ ในระดับชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นหลัก