EN/TH
EN/TH
กลุ่มขับเคลื่อน>ท-การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลออกแบบกระบวนวิชาเศรษฐศาสตร์-ทัชชา สุตตสันต์
ท-การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลออกแบบกระบวนวิชาเศรษฐศาสตร์-ทัชชา สุตตสันต์
ผู้วิจัย : อ.ดร.ทัชชา สุตตสันต์   โพสต์ เมื่อ 18 ธันวาคม 2023
จำนวนผู้เข้าชม 8 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 76 ครั้ง

การนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาประยุกต์ใช้ในภาคการศึกษานับเป็นการสร้างการ เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจาก AI ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนกระทั่งมีความสามารถในการประมวลผล ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐศาสตร์ ดังนั้น การรวมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ใน หลักสูตรเศรษฐศาสตร์จึงเป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับผู้เรียน และจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้ ในหลากหลายรูปแบบ ถึงแม้ว่า AI จะไม่สามารถทดแทนบทบาทของผู้สอนได้ แต่การประยุกต์ใช้ AI ในการจัดการ เรียนรู้มีแนวโน้มที่จะเติบโตและขยายตัวในอนาคต การนำ AI มาใช้งานในด้านการศึกษาจึงเป็นการปฏิรูปและพัฒนา วิธีการสอนและการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทบาทของ AI ในการวางแผนและกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ สามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน ผสมผสานความสามารถของ AI กับการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การคิดค้นแนวทางและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็วได้ ซึ่งผู้สอนสามารถใช้ประโยชน์จากอัลกอริทึม AI รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR) และ Mixed Reality (MR) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบพลวัตได้ ซึ่งไม่เพียง แค่ใช้นำเสนอเกี่ยวกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ แต่ยังช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติจริง ที่สามารถเพิ่มทักษะ การวิเคราะห์และการตัดสินใจได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการทำความเข้าใจและตีความข้อมูลทางเศรษฐกิจ การ วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลด้วยความรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงการใช้ข้อมูลเชิงลึกสร้างความเข้าใจชุดข้อมูลที่ ซับซ้อน นอกจากนี้ AI ยังสามารถช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์กันในชั้นเรียนมากขึ้น ด้วยการพัฒนาแบบจำลองเสมือนจริงและแบบจำลองโต้ตอบ (Interactive) ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีและ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในทางปฏิบัติและมีส่วนร่วมในการสร้างประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ปฏิบัติจริงจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจและจดจำหลักการทางเศรษฐศาสตร์ได้ และมีความพร้อมที่จะสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในทางเศรษฐศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ และสร้างผลกระทบทางบวกให้กับระบบเศรษฐกิจ และสังคมได้

การศึกษาในครั้งนี้ มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่การออกแบบกระบวนวิชาที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ AI จำนวน 2 วิชา โดยวางกรอบแนวคิดของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ได้ใน 2 ลักษณะ คือ การ ออกแบบเพื่อพัฒนาในขั้นของการกำหนดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ตามหัวข้อ หลักของกระบวนวิชา และการออกแบบสร้างกระบวนวิชาใหม่ ที่พัฒนาขึ้นจากการบูรณาการกระบวนวิชาเดิมเข้ากับ ศาสตร์ของกระบวนวิชาที่มีความเชื่อมโยงกับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ และ AI

โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มี 3 ลักษณะคือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI เข้าไปเป็นส่วน หนึ่งของเนื้อหาความรู้ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ และการใช้ Generative AI เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือ