EN/TH
EN/TH
กลุ่มขับเคลื่อน>อ-การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลออกแบบกระบวนวิชาในหลักสูตรด้านการท่องเที่ยว-อัครพงศ์ อั้นทอง
อ-การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลออกแบบกระบวนวิชาในหลักสูตรด้านการท่องเที่ยว-อัครพงศ์ อั้นทอง
ผู้วิจัย : รศ.ดร.อัครพงศ์ อั้นทอง   โพสต์ เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2023
จำนวนผู้เข้าชม 15 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 51 ครั้ง

รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองประยุกต์ใช้ Gen-AI พัฒนาและออกแบบกระบวนวิชาในหลักสูตรทางด้านการจัดการการท่องเที่ยว สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 3 กระบวนวิชา ด้วยแนวทางที่แตกต่างกัน 3 แนวทาง ผลการทดลองพบว่า การพัฒนาและออกแบบกระบวนวิชาสามารถดำเนินการได้หลากหลายแนวทางขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและความมุ่งหมายของผู้ดำเนินการ โดยผลลัพธ์ในแต่ละแนวทางให้ภาพรวมที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่มีความแตกต่างในรายละเอียด ซึ่งสามารถขอเพิ่มเติมได้จาก Gen-AI ทั้งนี้ในการทำงานร่วมกับ Gen-AI ผู้ดำเนินการควรใช้ Gen-AI ในฐานของเครื่องมือ/ผู้ช่วย รวมถึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการสิ่งที่กำลังทำงาน ทั้งนี้ ผู้ดำเนินการสามารถประยุกต์ใช้ search engine ช่วยหาข้อมูลเพื่อตรวจสอบและปรับเงื่อนไข/ความต้องการให้สอดคล้องกับบริบทหรือเป้าหมายที่ต้องการ หรือควรดำเนินการในลักษณะ “สมองของมนุษย์ กับ สมองของ AI ต้องทำงานร่วมกัน”

จากการทดลองทำงานกับ Gen-AI มีข้อสังเกตบางประการ ได้แก่ 1) ChatGPT-4 มีข้อจำกัดในการใช้บางประการ ซึ่งผู้ใช้ต้องตรวจสอบและศึกษารายละเอียดในเบื้องต้นก่อนการประยุกต์ใช้งาน 2) Bard มักให้ผลลัพธ์ที่กระชับและสั้นกว่า ChatGPT เสมอ และมีการให้ footnote ที่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 3) ผลลัพธ์จาก ChatGPT กับ Bard มีรายละเอียดแตกต่างกัน แต่มีโครงสร้างของผลลัพธ์ scope และ meaning ใกล้เคียงกัน 4) การเริ่มต้นพูดคุยใหม่ (New chat) /regenerate ให้ผลลัพธ์ใน scope และ meaning แตกต่างกัน บางครั้งมีการปรับโครงสร้างการนำเสนอใหม่ แต่การใช้ Revise ให้ผลลัพธ์ใน scope และ meaning เดียวกัน รวมถึง โครงสร้างการนำเสนอเหมือนเดิม แต่มีการปรับปรุงถ้อยคำ และเรียบเรียงประโยคใหม่ 5) ผลลัพธ์ที่ได้ระหว่างการให้/ไม่ให้ชุดข้อมูลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 6) Gen-AI ช่วยสรุปชุดข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และเป็นระบบระเบียบ ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นกระบวนการคิดวิเคราะห์และเพิ่มทางเลือกในการออกแบบปรับปรุงประเด็นที่ศึกษา และ 7) การทำงานที่เป็นคำถามเฉพาะเจาะจง มักจะมีโอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนสูงมาก /ขาดความน่าเชื่อถือ

จากการทดลองมีข้อเสนอแนะสำหรับทำงานร่วมกับ Gen-AI ดังนี้ 1) พึงระลึกเสมอว่า Gen-AI เป็นเครื่องมือ/ผู้ช่วย จะทำงานตามเงื่อนไข/ข้อจำกัดที่ระบุโดยผู้ใช้งาน 2) การสร้าง prompt สำหรับทำงานร่วมกับ Gen-AI จะต้อง 1. กำหนดหัวข้อ (Topic) ให้ชัดเจนว่าต้องการอะไรจาก Gen-AI 2. ระบุเงื่อนไข/ข้อจำกัด และ 3. ระบุรายละเอียดของผลลัพธ์ (Result) ที่ต้องการ และ 3) ตรวจสอบและพิจารณาผลลัพธ์จาก Gen-AI ทุกครั้ง