ในอดีต มันสําปะหลัง เคยได้รับสมญาว่าเป็นพืชสําหรับคนจน จนมีโครงการของรัฐในการหาพืชอื่นมาปลูกทดแทนแต่ปัจจุบันมันสําปะหลังได้กลายมาเป็นพืชทองของเกษตรกร ผลผลิตมีการนําไปแปรรูปและนําไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ทั้งที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นและที่เป็นส่วนผสมโดยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีอุตสาหกรรมรองรับ
มันสําปะหลังเปลี่ยนสถานะมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญลําดับต้น ๆ ของประเทศ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสําปะหลังรายใหญ่ที่สุดของโลกและมีเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังกว่า 530,000 ครัวเรือน มีผู้ประกอบลานมัน โรงงานแป้ง มันสําปะหลังดิบ โรงงานแป้งมันสําปะหลัง ดัดแปร โรงงานมันเส้น โรงงานมันอัดเม็ด โรงงานแป้งมันและผู้ส่งออก รวมทั้งแรงงานในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ในห่วงโซ่คุณค่าอีกเป็นจํานวนมาก
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตมันสําปะหลังในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมและพื้นที่เพาะปลูกมันสําปะหลังของประเทศมีจำกัดและใช้ไปหมดแล้ว รวมทั้งมันสําปะหลังยังต้องแข่งขันกับอ้อยในพื้นที่ปลูก โอกาสที่จะขยายพื้นที่ปลูกออกไปอีกเป็นไปได้ยาก ในอนาคตมันสําปะหลังและอุตสาหกรรมมันสําปะหลังจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ หลายอย่างเอกสารฉบับนี้จะเสนอมุมมองของคณะผู้เขียนต่อทิศทางในอนาคตของมันสําปะหลังและอุตสาหกรรมมันสําปะหลังของประเทศไทย
อ่านรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ มองอนาคตระบบการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยทางการเกษตร : กรณีข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย-อารันต์ พัฒโนทัย และคณะ