EN/TH
EN/TH
Policy Brief>ศ-Policy Brief-กาแฟดอย โอกาสใหม่สำหรับน่าน-รศ.ดร.ศิริพร กิรติการกุล และคณะ
ศ-Policy Brief-กาแฟดอย โอกาสใหม่สำหรับน่าน-รศ.ดร.ศิริพร กิรติการกุล และคณะ
ผู้วิจัย : รศ.ดร.ศิริพร กิรติการกุล และคณะ   โพสต์ เมื่อ 29 ตุลาคม 2023
จำนวนผู้เข้าชม 66 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 4 ครั้ง

กาแฟเป็นพืชที่มีความต้องการบริโภคทั่วโลกมีการประเมินว่าขนาดของตลาดกาแฟทั่วโลกในปี 2563 มีขนาดถึง 456 พันล้านเหรียญสหรัฐ (global newswire, 2566) และคาดว่าจะมีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวของความต้องการกาแฟสูงสุด เนื่องจากเป็นภูมิภาคเดียวของโลกที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าภาคอื่น ๆ อีกทั้งวัฒนธรรมการบริโภคกาแฟยังอยู่ในช่วงของการขยายตัวสังเกตได้จากจํานวนร้านกาแฟที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ตลาดกาแฟในประเทศไทยปี 2563 มีมูลค่ากว่า 42,537 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟสดร้อยละ 9.7 อัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี (กาแฟพิเศษเป็นส่วนหนึ่งในมูลค่าของกาแฟสด) และกาแฟสําเร็จรูปร้อยละ 90.3 อัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.8 ต่อปี ดังนั้นจึงมีความจําเป็นต้องสร้าง ความแตกต่างโดยวิธีนําเสนอแบบต่าง ๆ อุตสาหกรรมกาแฟเป็นอุตสาหกรรมที่มีกิจการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อการระบาดของโควิด 19 ซาลง มีการขยายตัวของร้านกาแฟเกิดขึ้นทั่วประเทศ เฉพาะของ Amazon เจ้าเดียวเพิ่มขึ้นถึง 267 สาขาเป็น 3,895 สาขาในปี 2565 การขยายตัวและเติบโตของตลาดกาแฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวของตลาดเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ทั้งหมด

บทสรุปเชิงนโยบายนี้นําเสนอข้อมูลสําคัญจากรายงาน เรื่อง “การพัฒนาธุรกิจชุมชนด้วยการบริหารจัดโซ่อุปทานกาแฟและโคเนื้อเพื่อสร้างโอกาสอาชีพที่ยังยืนสอดคล้องกับบริบทพื้นที่สูง” โดย รศ. ดร.ศิริพร กิรติการกุล และคณะ