EN/TH
EN/TH
กลุ่ม Big data และดัชนีสังคมไทย>ณ-การวิเคราะห์เหมืองข้อความ และการวิเคราะห์บรรณมิติงานวิจัยทางการเกษตร : กรณีข้อมูลข้าว อ้อย และมันสําปะหลัง (ระยะที่ 2)-ดร.ณัฐพล อนันต์ธนสาร, ดร.สกุลกาญจน์ วลีอิทธิภัสร์, ดร.ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล
ณ-การวิเคราะห์เหมืองข้อความ และการวิเคราะห์บรรณมิติงานวิจัยทางการเกษตร : กรณีข้อมูลข้าว อ้อย และมันสําปะหลัง (ระยะที่ 2)-ดร.ณัฐพล อนันต์ธนสาร, ดร.สกุลกาญจน์ วลีอิทธิภัสร์, ดร.ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล
ผู้วิจัย : ดร.ณัฐพล อนันต์ธนสาร, ดร.สกุลกาญจน์ วลีอิทธิภัสร์, ดร.ธีรยุทธ พิริยะอารยะกูล   โพสต์ เมื่อ 26 ตุลาคม 2023
จำนวนผู้เข้าชม 73 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 12 ครั้ง

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจความชุกของประเด็นวิจัยทางการเกษตรกรณีข้อมูลข้าว อ้อย และมันสำปะหลังในระดับชาติและระดับนานาชาติ และ (2) เพื่อพัฒนาต้นแบบรายงาน

การประมวลผลและติดตามสถานะประเด็นวิจัยทางการเกษตรกรณีข้อมูลข้าว อ้อย และมันสำปะหลังของนักวิจัยไทยในระดับชาติและระดับนานาชาติ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ การวิจัยระยะที่ 1 การสำรวจความชุกของประเด็นวิจัยทางการเกษตรกรณีข้อมูลข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล SCOPUS และฐานข้อมูลระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) จำนวน 10 ปี ตัวอย่างวิจัย ประกอบด้วย งานวิจัยข้าว จำนวน 55,945 ฉบับ งานวิจัยอ้อย จำนวน 16,473 ฉบับ และงานวิจัยมันสำปะหลัง จำนวน 6,745 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำเหมืองข้อความ (text mining) ให้ได้ประเด็นวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาเป็นโครงสร้างประเด็นวิจัยทางการเกษตรพร้อมตรวจสอบความถูกต้องกับผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนาต้นแบบรายงานการประมวลผลและติดตามสถานะประเด็นวิจัยทางการเกษตร กรณีข้อมูลข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง โดยสำรวจความต้องการของผู้ใช้จากการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน วิเคราะห์เนื้อหาและนำข้อมูลไปใช้พัฒนาต้นแบบรายงานฯ โดยต้นแบบรายงานนี้ใช้การวิเคราะห์บรรณมิติและสถิติแบบบรรยายนำเสนอด้วยโปรแกรม Power BI ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผลสำรวจความชุกของประเด็นวิจัยทางการเกษตร พบว่า กรณีข้อมูลข้าว งานวิจัยไทยและต่างชาติในฐานข้อมูล SCOPUS เน้นศึกษาด้านการแปรรูปมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการผลิต และด้านการตลาดและการบริโภค ตามลำดับ แตกต่างจากโครงการวิจัยในฐานข้อมูล NRIIS ที่ศึกษาด้านการผลิตมากที่สุด รองลงคือ ด้านการแปรรูป และด้านการตลาดและการบริโภค ตามลำดับ กรณีข้อมูลอ้อย ส่วนใหญ่เน้นประเด็นวิจัยด้านการแปรรูปโดยเฉพาะการแปรรูปอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ส่วนด้านการผลิตเน้นประเด็นวิจัยกลุ่มพื้นที่และดิน พันธุ์-เมล็ดพันธุ์ และกลุ่มเครื่องจักร/เครื่องมือ/อุปกรณ์ และไม่พบประเด็นวิจัยด้านตลาดและบริโภค กรณีข้อมูลมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่ศึกษาด้านการแปรรูปโดยเน้นการศึกษาผลิตภัณฑ์มากที่สุด รองลงมา คือ กระบวนการแปรรูป คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และผลิตผล ส่วนด้านการผลิต โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต และสิ่งแวดล้อมตามลำดับ ขณะที่ด้านตลาดและบริโภคเป็นประเด็นวิจัยที่มีการศึกษาน้อยที่สุด

2. ผลการพัฒนาต้นแบบรายงานการประมวลผลและติดตามสถานะประเด็นวิจัยทางการเกษตร ได้นำข้อมูลผู้ใช้มาพัฒนาเป็นโครงสร้างประเด็นวิจัยทางการเกษตรที่ได้จัดลำดับชั้นแบบลดหลั่นให้ฉายภาพของงานวิจัย พื้นที่วิจัย นักวิจัย และหน่วยวิจัยแบบลงลึกและเข้าใจง่าย โดยออกแบบฐานข้อมูลและออกแบบส่วนประสานต่อผู้ใช้ได้ต้นแบบรายงานฯ จำนวน 8 หน้าต่าง