EN/TH
EN/TH
Policy Brief>ร-Policy Brief-นโยบายสาธารณะว่าด้วยแรงจูงใจ: กรณีศึกษาทรัพยากรประมง-เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ และคณะ
ร-Policy Brief-นโยบายสาธารณะว่าด้วยแรงจูงใจ: กรณีศึกษาทรัพยากรประมง-เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ และคณะ
ผู้วิจัย : ผศ.ดร. เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 24 ตุลาคม 2023
จำนวนผู้เข้าชม 217 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 4 ครั้ง

แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้จูงใจให้บุคคลเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะมักเป็นการให้แรงจูงใจทางการเงิน เช่น แนวคิดการจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services: PES) ที่มองว่าผู้ได้ประโยชน์ในการดูแลระบบนิเวศ เช่น เขตอนุรักษ์ป่าไม้ ควรจ่ายให้กับผู้ที่ดูแลระบบนิเวศดังกล่าว หรือกรณีการให้ค่าตอบแทนของการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) เป็นต้น ข้อกังวลที่เกิดขึ้นจากนโยบายสร้างแรงจูงใจทางการเงินดังกล่าวคือ ค่าตอบแทนทางการเงินจะหักล้าง (crowding out) จิตวิญญาณที่จะเสียสละของอาสาสมัครเหล่านี้หรือไม่ถ้าค่าตอบแทนเหล่านี้ไม่มีอีกต่อไป

คณะวิจัยได้ทําการศึกษาเพื่อตอบปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการทดลองหรือเกมทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า เกมสินค้าสาธารณะ (Public good game) กับชาวบ้านในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จํานวน 256 ราย โดยผู้เข้าร่วมการทดลองได้เงินได้เปล่า (endowment) ในตอนเริ่มต้นแต่ละรอบเท่าๆ กันทุกคน แต่ละคนต้องตัดสินใจว่าจะลงทุนในกิจกรรมสาธารณะจํานวนเท่าใดจากเงินที่ได้เปล่าพร้อมๆ กันและเงินที่เหลือที่แต่ละคนไม ่ได้ลงทุนในกิจกรรมสาธารณะจะย้ายไปอยู่บัญชีส่วนตัวอัตโนมัติ ดังนั้น การลงทุนในกิจกรรมสาธารณะจึงสะท้อนความร่วมมือของบุคคลในการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ แรงจูงใจทางการเงินจะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือมากขึ้นหรือจะส่งผลหักล้างเป็นประเด็นนโยบายสาธารณะของเอกสารฉบับนี้

บทสรุปเชิงนโยบายนี้นําเสนอข้อมูลสําคัญจากรายงาน เรื่อง “ต้นทุนแฝงของแรงจูงใจทางการเงิน: แรงจูงใจทางการเงินส่งผลหักล้างผลของแรงจูงใจในการร่วมมือหรือไม่” โดย ผศ. ดร.เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ และคณะ