EN/TH
EN/TH
กลุ่มส่องโลกปริทรรศน์>ด-ความรู้การบริหารเมืองจากแผนที่ภาษีและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย-ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะ
ด-ความรู้การบริหารเมืองจากแผนที่ภาษีและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย-ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะ
ผู้วิจัย : ศ.ดร. ดิเรก ปัทมศิริวัฒน์ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 10 ตุลาคม 2023
จำนวนผู้เข้าชม 372 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 24 ครั้ง

การศึกษาครั้งนี้ทำการสำรวจพัฒนาการใหม่ของการปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้ชื่อ “แผนที่ภาษี” อันเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เริ่มประกาศในปี พ.ศ. 2562 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 แผนที่ภาษีใหม่นี้ถือเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในแง่ที่ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ดินและหน่วยอาคารทั้งหมดภายใต้ขอบเขตพื้นที่ท้องถิ่นนั้น โดยปรากฎข้อมูลรายละเอียด เช่น ขนาดพื้นที่ ราคาประเมินที่ดิน ประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ประเภทอาคาร และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและการจัดเก็บภาษี ฐานข้อมูลขนาดใหญ่เหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการบริหารจัดการเมืองและเพื่อเพิ่มพูนความรู้ของเมือง โดยมีเงื่อนไขว่าข้อมูลเหล่านี้จะต้องเปิดเผยสู่สาธารณะในวงกว้าง การศึกษาครั้งนี้จึงทำการรวบรวมข้อมูลแผนที่ภาษีจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลแบบเจาะจง กรณีตัวอย่าง 5 เมืองในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติและการประมาณแบบจำลองเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเมืองและการคลังท้องถิ่นในประเทศไทย

ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมแม่เหล็ก เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย หรือโรงเรียน โรงงาน โกดัง วัด ฯลฯ ทำให้เกิดการรวมตัวกันของผู้คนและนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และ มีผลต่อมูลค่าแปลงที่ดินในพื้นที่นั้น ๆ จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติและการประมาณแบบจำลองมูลค่า ทรัพย์สินรายงานว่า องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีกิจกรรมเชิงพาณิชย์สูงอาจเพิ่มรายได้ที่สูงขึ้นอย่างมี นัยสำคัญ และกรณีที่รายได้ในท้องถิ่นลดลงเนื่องจากมีอัตราภาษีต่ำสำหรับกิจกรรมการเกษตร และการ ใช้ "ที่อยู่อาศัยให้เช่า" เป็น "อัตราภาษีที่อยู่อาศัย"

การวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่ภาษีช่วยให้ท้องถิ่นเข้าใจการเติบโตของเมือง ความต้องการโครงสร้าง พื้นฐานสาธารณะ และสิ่งที่เรียกว่า “ตัวคูณท้องถิ่น” อีกทั้งสามารถใช้เพื่อขยายความเข้าใจเกี่ยวกับ ผลกระทบในด้านต่าง ๆ รวมถึงการขยายเมืองเนื่องจากการเคลื่อนย้ายของผู้คน ที่อยู่อาศัย และร้านค้า เชิงพาณิชย์ข้ามเขตพื้นที่ อาทิ จากโซนชั้นในของเมืองไปชานเมืองเนื่องจากราคาที่ดินที่มีราคาถูกกว่า ข้อมูลดังกล่าวช่วยในการบริหารจัดการเมืองได้ทั้งด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การคมนาคม ให้กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี