EN/TH
EN/TH
กลุ่มนวัตกรรมทางสังคม>ร-ต้นทุนแฝงของแรงจูงใจทางการเงิน: แรงจูงใจทางการเงินส่งผลหักล้างผลของแรงจูงใจในการร่วมมือหรือไม่-เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ และคณะ
ร-ต้นทุนแฝงของแรงจูงใจทางการเงิน: แรงจูงใจทางการเงินส่งผลหักล้างผลของแรงจูงใจในการร่วมมือหรือไม่-เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ และคณะ
ผู้วิจัย : ผศ.ดร. เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 08 กันยายน 2023
จำนวนผู้เข้าชม 199 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 30 ครั้ง

จากสภาพสังคมในปัจจุบันของประเทศไทยที่มีลักษณะเป็นสังคมปัจเจกชนที่เน้นการแข่งขันมากขึ้น ทำให้คนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะสังคมเมืองมักไม่ให้คำนึงถึงผู้อื่น อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่ใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้บุคคลเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะมักเป็นการให้แรงจูงใจทางการเงิน ข้อกังวลที่เกิดขึ้นจากนโยบายสร้างแรงจูงใจทางการเงินดังกล่าวคือ ค่าตอบแทนทางการเงินจะหักล้าง (crowding out) จิตวิญญาณที่จะเสียสละของอาสาสมัครเหล่านี้หรือไม่ ถ้าไม่มีค่าตอบแทนเหล่านี้อีกต่อไป ทั้งนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า แรงจูงใจทางการเงินส่งผลหักล้างแรงจูงใจ ภายในของพฤติกรรมเพื่อสังคมหรือไม่ ภายใต้รูปแบบการให้ค่าตอบแทนในสถานการณ์ต่างๆ โดยการศึกษานี้ใช้วิธี Field experiment ในรูปของการทดลองที่เรียกว่าการทดลองสินค้าสาธารณะ (Public good experiment) และในการตอบคำถามวิจัยดังกล่าว การศึกษาทดสอบกลไกที่ต้องการทดสอบ ( treatment) ทั้งหมด 4 กลไก ได้แก่ การให้ค่าตอบแทนรายบุคคลในระดับต่ำ การให้ค่าตอบแทนที่ได้ประโยชน์ร่วมกันในระดับต่ำ การให้ค่าตอบแทนรายบุคคลในระดับสูง และการให้ค่าตอบแทนที่ได้ประโยชน์ร่วมกันในระดับสูง ทั้งนี้ นักวิจัยได้ทำการทดลองสินค้าสาธารณะกับชาวบ้านในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 256 ราย ผลการศึกษาหลักสรุปได้ 2 ประเด็น หลัก ได้แก่ 1) การให้แรงจูงใจในรูปของเงินไม่ส่งผลทำให้ความร่วมมือในการลงทุนในโครงการสาธารณะเพิ่มขึ้น ทั้งในระดับค่าตอบแทนที่ต่างกัน (ต่ำและสูง) และรูปแบบการให้ค่าตอบแทนที่แตกต่างกัน (individual และ collective) อย่างมีนัยสำคัญ และ 2) การให้ค่าตอบแทนในระดับสูงทั้งในการให้ค่าตอบแทนเป็นรายบุคคล (individual payment) กับการให้ค่าตอบแทนที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน (collective payment) ส่งผลหักล้างแรงจูงใจภายในในการลงทุนโครงการสาธารณะอย่างมีนัยสำคัญ ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า การสร้างแรงจูงใจด้วยเงินเพื่อให้บุคคลมีพฤติกรรมเพื่อสังคมมากขึ้นนั้นควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความร่วมมือค่อนข้างสูงเหมือนกับกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาที่การสร้างแรงจูงใจในรูปของเงินอาจส่งผลร้ายหลังจากที่ไม่มีการให้ค่าตอบแทนแล้ว