นโยบายของพรรคการเมืองที่ต้องการเปลี่ยนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิบัติที่ดิน (ส.ป.ก. 401) ไปเป็นโฉนดที่ดิน สามารถดำเนินการได้ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ดำเนินการมาแล้วในบางพื้นที่แต่ยังมีข้อจำกัดในการโอนและเปลี่ยนมือตามบทบัญญัติมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นโยบายการเปลี่ยน ส.ป.ก 401 ไปเป็นโฉนดที่ดินนั้นมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้ที่เห็นด้วยมีแนวคิดว่าเมื่อเกษตรกรได้รับโฉนดที่ดินไปแล้วสามารถนำไปใช้ค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินโดยนำเงินไปปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในที่ดินของตนเอง ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยมีความเห็นว่าที่ดินของรัฐที่ ส.ป.ก นำมาจัดให้แก่เกษตรกรเป็นที่สาธารณะไม่ควรมอบให้แก่เอกชน รวมทั้งจะมีการขายที่ดินออกไปในภายหลัง ดังตัวอย่างเชิงประจักษ์จากโครงการจัดที่ดินทำกินอื่นๆ ที่ ขายที่ดินภายหลังการรับโฉนดที่ดินจากการถอดบทเรียนพบว่าการขายที่ดินหรือโอนสิทธิ์นั้นมีสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ การขาดโครงสร้างพื้นฐานในการดำรงชีวิตซึ่งภาครัฐจะต้องเป็นผู้ลงทุน การแปลง ส.ป.ก. 401 ไปเป็นโฉนดที่ดินเพียงอย่างเดียวซึ่งเกษตรกรเป็นผู้ลงทุนไม่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรได้
ในด้านนโยบายป่าไม้ของพรรคการเมืองที่ต้องการยุติการดำเนินคดีที่มีอยู่จำนวนมาก จึงต้องใช้เวลานานในการแก้ปัญหาเพราะต้องแก้กฎหมายหลายฉบับ และผู้ถูกดำเนินคดีมีหลายสถานะนโยบายการนำที่ดินในเขตป่าไม้ที่มีผู้ทำกินมาปลูกป่านั้นมีมานานแต่ไม่มีผลในทางปฏิบัติมากนักทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนโยบายการขายคาร์บอนเครดิตเป็นนโยบายที่ดี แต่ควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และข้อตกลงให้สะดวกยิ่งขึ้นกว่าเดิมการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อลดการนำเข้าคือ การสร้างตลาดไม้ให้กว้างขวางและเข้าถึงได้ง่ายแก่เกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อยมีทางเลือกใหม่ได้