EN/TH
EN/TH
กลุ่มนโยบายสาธารณะและกฎหมาย>ร-ทำความเข้าใจความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านการชี้วัดทักษะด้านดิจิทัล และการพัฒนา SME digitization index (ระยะที่ 2)-รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น
ร-ทำความเข้าใจความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านการชี้วัดทักษะด้านดิจิทัล และการพัฒนา SME digitization index (ระยะที่ 2)-รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น   โพสต์ เมื่อ 01 กันยายน 2023
จำนวนผู้เข้าชม 102 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 30 ครั้ง

การศึกษาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็ก ผ่านช่องทาง e-commerce platform เป็นหัวข้อที่สำคัญเพราะ e-commerce platform มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยในประเทศไทยมูลค่าธุรกรรมผ่าน e-commerce platform มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าธุรกรรมในอุตสาหกรรมค้าปลีก และ การเติบโดของธุรกรรมส่วนใหญ่ก็มาจากการค้าขายของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็ก

เมื่อนำกรอบแนวคิดการชี้วัดระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัล (SME digital literacy) และการชี้วัดระดับการเปลี่ยนผ่านด้ ด้านดิจิทั (SME digital transformation index) ที่พัฒนาขึ้นโดย รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น และคณะ (2565) ไปทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กจำนวน 1,500 รายที่มีการค้าขายผ่าน Shopee พบผลลัพธ์ที่น่าสนใจ กล่าวคือ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ของการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ได้มีผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัล โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีทักษะความรู้ด้านดิจิทัลสูงจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มี ธุรกิจขนาดใหญ่ และเป็นผู้ผลิตสินค้าเอง

นอกจากนี้ การเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลสูงโดดเด่นจะเพิ่มความน่าจะเป็นอย่างมีนัยสำคัญในการเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลที่สูง โดยการมีระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลที่สูงเพิ่มความน่าจะเป็นอย่างมีนัยสำคัญในการยอดขายผ่าน Shopee platforms มากกว่า 1,000,000 บาทต่อปี มีการเติบโตของยอดขายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามากกว่า 10% และมีอัตราการทำกำไรที่สูงประมาณ 20% ซึ่งแตกต่างจากผู้ประกอบธุรกิจที่มีการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลในระดับต่ำที่ส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานขาดทุน มีรายได้ที่น้อยลง และมีรายได้อยู่ในกลุ่ม 50,000 บาทต่อปีเท่านั้น

ผลลัพธ์เชิงประจักษ์ดังกล่าวยืนยันให้เห็นว่าการประกอบธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จจะต้องมีการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลในระดับขั้นสูงที่ใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อพัฒนากลยุทธ์เชิงธุรกิจ และความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล หากผู้ประกอบธุรกิจเพียงแค่ใช้อินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เท่านั้น จะไม่สามารถสร้างผลการดำเนินงานด้านการเงินที่สูงโดดเด่น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับการอบรมให้ความรู้เชิงลึกมากขึ้น และควรสร้างพื้นที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเชื่อมโยงกับผู้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ในที่สุด