ประเทศไทยประสบปัญหาหมอกควันพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในระดับที่เข้าขั้นวิกฤตเป็นเวลาร่วมสิบปีจนถึงปัจจุบัน โดยยังคงขาดกฎหมายในการกำกับดูแลการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่มาของการผลักดันร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด โดยความร่วมมือของเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชน อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดจำนวนทั้งหมด 5 ฉบับได้ถูกปัดตกด้วยเหตุที่ว่าเป็น พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงิน โดยที่ยังไม่มีโอกาสได้รับการบรรจุเป็นวาระการประชุมในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนได้ถกเถียงถึงเหตุผลและความจำเป็นของกฎหมายดังกล่าว
ท่ามกลางความไม่แน่นอนในการผ่านร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดประกาศ การศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาร่างกฎหมายอากาศสะอาดทั้ง 5 ฉบับ กับกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลมลพิษทางอากาศที่ประเทศไทยใช้บังคับในปัจจุบัน จะทำให้เห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนทั่วไปและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณากฎหมายจะได้รับหากประเทศไทยมีกฎหมายอากาศสะอาดเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนวาระคุณภาพอากาศและการทำให้สิทธิการหายใจอากาศสะอาดเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
คำสำคัญ: กฎหมายอากาศสะอาด, หมอกควันพิษ , ฝุ่น ละอองขนาดเล็ก PM 2.5, วาระคุณภาพอากาศ , สิทธิในการหายใจอากาศสะอาด