EN/TH
EN/TH
กลุ่มนโยบายสาธารณะและกฎหมาย>ศ-การพัฒนาธุรกิจชุมชนด้วยการบริหารจัดโซ่อุปทานกาแฟและโคเนื้อ เพื่อสร้างโอกาสอาชีพที่ยั่งยืนสอดคล้องกับบริบทพื้นที่สูง-ศิริพร กิรติการกุล และคณะ
ศ-การพัฒนาธุรกิจชุมชนด้วยการบริหารจัดโซ่อุปทานกาแฟและโคเนื้อ เพื่อสร้างโอกาสอาชีพที่ยั่งยืนสอดคล้องกับบริบทพื้นที่สูง-ศิริพร กิรติการกุล และคณะ
ผู้วิจัย : รศ.ดร.ศิริพร กิรติการกุล และคณะ   โพสต์ เมื่อ 18 สิงหาคม 2023
จำนวนผู้เข้าชม 371 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 31 ครั้ง

โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาธุรกิจชุมชนด้วยการบริหารจัดโซ่อุปทานกาแฟและโคเนื้อเพื่อสร้างโอกาสอาชีพที่ยั่งยืนสอดคล้องกับบริบทพื้นที่สูง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายพัฒนาอาชีพและธุรกิจชุมชนบนพื้นที่สูงที่เหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไขและข้อจำกัดของชุมชน 2) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาอาชีพและธุรกิจชุมชนบนพื้นที่สูง ดำเนินการศึกษาโดยการสำรวจรวบรวมข้อมูลเกษตรกรโคเนื้อ 19 ชุมชน 428 ราย เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ 15 ชุมชน 958 ราย ใน พื้นที่ 15 อำเภอ จังหวัดน่าน ซึ่งการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนการลงทุนใช้วิธีต้นทุนและรายรับทางตรง (Financial statement) และวิธีการนำต้นทุนทางอ้อมที่นับรวมค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการแทรกแซงการเปลี่ยนแปลงในโซ่อุปทานโคเนื้อ ก่อน-หลังโครงการโซ่ที่ 1-4 สำหรับโซ่ที่ 5 ไม่มีข้อมูลเพียงพอ ผลการศึกษา พบว่า

1.การบริหารจัดการโซ่อุปทานโคเนื้อ เกษตรกร 428 ราย เลี้ยงโคเนื้อ 3,358 ตัว ขนาดฝูงเฉลี่ย 7.85 ตัว/ครัวเรือน เป็นแม่โคและโคสาวเฉลี่ย 4.06 ตัว/ครัวเรือน สายพันธุ์โคส่วนใหญ่เป็นโคพื้นเมือง/บราห์มัน การเลี้ยงโคขุนคุณภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความต้องการตลาด ได้คัดเลือก 3 ชุมชนต้นแบบจัดการองค์ ความรู้ใน 5 ห่วงโซ่จัดกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงในโซ่อุปทาน พบว่า โซ่ที่ 1 การผลิต เกษตรกรมีอัตราผลตอบแทนการลงทุน ร้อยละ 15.75 แต่เมื่อรวมค่าใช้จ่ายการแทรกแซง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ลดลงเหลือร้อยละ 10.05 โซ่ที่ การแปรสภาพโคเนื้อเป็นซากโค การนำโคเนื้อมีชีวิตจำนวน 10 ตัว น้ำหนัก รวม 6,492 กก. อัตราผลตอบแทนการลงทุน ร้อยละ 3.06 เมื่อรวมค่าใช้จ่ายจากการแทรกแซง อัตราผลตอบแทนการลงทุน ลบร้อยละ 3.22 โซ่ที่ 3 การตัดแต่งชิ้นส่วน จากการนำซากโคจำนวน 10 ซากมาทำการตัดแต่งเป็นชิ้นส่วน อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 28.30 ลดลงร้อยละ 21.43 โซ่ที่ 4 การจำหน่าย ปลีกชิ้นส่วน อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 27.47 เมื่อรวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมการแทรกแซง อัตราผลตอบแทนทางอ้อมร้อยละ 14.61
 2.การบริหารจัดการโซ่อุปทานกาแฟ พบว่า เกษตรกร 958 รายพื้นที่ปลูก 10,493 ไร่ผลิตกาแฟเชอรี่รวม 7,758 ตัน/ปี ได้คัดเลือก 4 ชุมชนต้นแบบจัดกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้ใน 5 ห่วงโซ่ จัดกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงในโซ่อุปทานกาแฟ พบว่า โซ่ที่ 1 การผลิต อัตราผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ย ร้อยละ 63.35 เมื่อ รวมค่าใช้จ่ายจากการแทรกแซง อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 23.21 โซ่ที่ 2 การรวบรวมกาแฟเชอรี่ เมื่อรวมค่าใช้จ่ายจากการแทรกแซง อัตราผลตอบแทนการลงทุนลดลงจากร้อยละ 4.71 เหลือร้อยละ 4.38 โซ่ ที่ 3 การแปรรูปกาแฟกะลา อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ร้อยละ 24.03 โซ่ที่ 4 การแปรรูปสารกาแฟเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟคั่ว อัตราผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ย ร้อยละ 41.28 เมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการแทรกแซงอัตรา ผลตอบแทนการลงทุนลดลงเหลือร้อยละ 40.22 

3.แบบจำลองธุรกิจชุมชนโคเนื้อและกาแฟ (Business Model Canvas) 9 องค์ประกอบ มีดังนี้ 1) ลูกค้า/ผู้บริโภคเป้าหมาย 3 กลุ่มได้แก่ ผู้บริโภคทั่วไปเป็นฐานลูกค้าที่ขยายไปสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ กลุ่มนักท่องเที่ยว และกลุ่มร้านประกอบการในพื้นที่ซึ่งเพิ่มตามแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น 2) คุณค่า หรือจุดขายของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง ได้แก่ คุณค่าจากสายพันธุ์ กระบวนการแปร รูป รสชาติ/รสสัมผัสดี ระบบการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นผลผลิตของเกษตรกรรายย่อย 3) ช่องทางการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์ม สื่อสังคมและสื่อรูปแบบอื่นๆ เช่น โบร์ชัวร์ การจัดชิมกาแฟ/ ผลิตภัณฑ์เนื้อ การจำหน่ายผ่านร้านจำหน่ายของฝากแหล่งท่องเที่ยวตลาดออนไลน์ 4) ความสัมพันธ์กับลูกค้า วิธีในการรักษาลูกค้าและรักษาฐานลูกค้า ได้แก่ การให้ข้อมูลและคำแนะนำ ผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภคด้วยสื่อสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์การจัดผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อการทดสอบชิม การสอบถาม/ ความพึงพอใจลูกค้าและคู่ค้าหลังการขาย ด้วยวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และกลยุทธ์การตลาดแก่ชุมชนต่างๆ 5) ทรัพยากรหลัก ประกอบด้วย ผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากล ตรวจสอบย้อนกลับได้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้แปรรูปในกิจกรรมขั้นกลางน้ำ 6) กิจกรรมหลัก กิจกรรมการผลิตด้วยคุณภาพและมาตรฐาน การออกแบบผลิตภัณฑ์และการจำหน่าย และกิจกรรมการตลาดเชื่อมโยงโซ่อุปทานทั้งระบบ 7) พันธมิตรหลัก ประกอบด้วย นักวิชาการ นักวิจัยสถาบันศึกษา ผู้ประกอบการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์และหน่วยงานราชการในพื้นที่ 8) กระแสรายได้ จากการจำหน่ายผลผลิตหลักและผลพลอยได้แยกตามกิจกรรมใน 5 ห่วงโซ่ 9) โครงสร้างต้นทุน จากต้นทุนเงินสดและต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสดแยกตามกิจกรรมใน 5 ห่วงโซ่

4.ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาธุรกิจชุมชนกาแฟและโคเนื้อคุณภาพจังหวัดน่าน

1) ยุทธศาสตร์กาแฟและโคเนื้อน่านควรได้รับการบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์จังหวัดน่าน โดยคณะกรรมการรัฐร่วมเอกชน (กรอ.) ประกอบด้วยภาคี 3 ฝ่าย ตัวแทนหน่วนงานภาครัฐ เอกชนและ ภาคเกษตรกร และภาคการศึกษา 2) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กาแฟน่านและโคเนื้ออย่างบูรณาการ โดยใช้ 4 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดทำแผนการตลาดและกิจกรรมการตลาด การสร้างตราสินค้า (Branding) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความยั่งยืนของธุรกิจ และการพัฒนาและเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า (Distribution) ด้วยช่องทาง Omni-Channel ที่เชื่อมโยงทั้งตลาด online และ offline 3) กำหนด Flagship projects และวาง positioning ของ Nan Coffee Super Cluster และ โคขุน คุณภาพของภาคเหนือให้เป็นหนึ่งในจังหวัดผู้นำการผลิต 4) แปลงใหญ่เกษตรมีบทบาทสำคัญในการจัดการความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการการ ผลิตให้ได้มาตรฐานโดยนำระบบการผลิตเกษตรสมัยใหม่/เกษตรอัจฉริยะ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะ การใช้น้ำและแรงงาน/ลดการใช้ปัจจัยการผลิต ลดการสูญเสียการระบาดของโรคแมลง 5) การเสริมสร้างความเข้มแข็งโซ่อุปทาน (supply chain) เพิ่มศักยภาพการผลิตบูรณาการกับภาควิชาการผ่านยุทธศาสตร์กาแฟและโคเนื้อน่าน 6) กาแฟ/โคเนื้อน่านมีคุณค่า (value) มากกว่าเพียงแค่นำเสนอว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือการปลูกร่วมกับป่าเท่านั้น แต่มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของสายพันธุ์ดี ควรมีมาตรการส่งเสริมเพื่อการยกระดับโซ่อุปทาน (supply chain) ให้เกิดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) โดยการบูรณาการกิจกรรมยึดโยงเศรษฐกิจ ชุมชนกับเศรษฐกิจท่องเที่ยวจังหวัด 7) เจรจาสร้างความร่วมมือกับผู้นำตลาดรายใหญ่ ด้วยกลยุทธ์ Co-creation พัฒนาเป็นเมนูที่ตอบสนองผู้บริโภคที่รับรู้และเริ่มให้คุณค่าระบบผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม