งานวิจัยนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องต่อธุรกิจท่องเที่ยวไทยที่มีต่อนักท่องเที่ยวจีน โดยมีวัตถุประสงค์สองประการคือ ประการที่หนึ่งค้นหาความต้องการและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจีนประเภท SoLoMo ผ่านสังคมออนไลน์ด้วยวิธีการทำเหมืองข้อความนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มการให้บริการแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และประการที่สองนำเสนอระบบนิเวศธุรกิจออนไลน์ต้นแบบเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการไทย ตลาดนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งสามารถสรุปผลลัพธ์การศึกษาวิจัยได้ดังนี้
1) สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างนักท่องเที่ยวจีนที่เดินท่องเที่ยวในต่างประเทศ
สถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวจีนที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2560-2561 ที่ผ่านมาคือการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนของนักท่องเที่ยวกลุ่มอิสระที่มีพฤติกรรมแบบ SoLoMo เรมิ่ ปรากฏภาพชัดเจนขึ้นทั้งต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในและภายนอกของประเทศจีน กล่าวคือนักท่องเที่ยวกลุ่มอิสระมีสัดส่วนมากกว่ากลุ่มทัวร์ทั้งที่เป็นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้จีนเข้าสู่ยุคสมัยของการท่องเที่ยวแบบอิสระได้มาถึงแล้วอย่างสมบูรณ์สำหรับประเทศจีน โดยปัจจัยสาคัญที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างนักท่องเที่ยวจีนคือ “ปฏิวัติดิจิตอล”ซึ่งประเทศจีนถือเป็นชาติแรกๆ ที่มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมดิจิตอลอย่างรวดเร็วสมาร์ทโฟนกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ของคนจีน ทั้งเพื่อการหาข้อมูล การสื่อสารความบันเทิง เป็นธนาคาร การซื้อสินค้าและบริการ สื่อกลางการชำระเงิน รวมไปถึงอำนวยความสะดวกและบริการให้กับนักท่องเที่ยวในหลากหลายมิติ
2) รูปแบบการให้บริการบน Mobile Application แหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลและซื้อบริการผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวได้ในหลากหลายช่องทางบน Mobile Application ในรูปแบบต่างๆที่ถูกพัฒนาขึ้น โดยกลยุทธ์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการหรือเป็นสมาชิกของแอพพลิเคชั่นผ่านแนวทางหรือความเชี่ยวชาญทางช่องทางการตลาดที่แตกต่างกันของแต่ละธุรกิจ แต่ส่วนมากจะออกแบบบริการผ่านเว็บไซต์หรือ Mobile Application ที่คล้ายคลึงกันกล่าวคือจะมีกระบวนการเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอน การแบ่งปันข้อมูล การให้คำแนะนำ การวางแผนการท่องเที่ยว การค้นหา การจับจอง กิจกรรมระหว่างการท่องเที่ยว การเดินทาง และการให้คะแนนหรือแสดงความคิดเห็นภายหลังการท่องเที่ยว กระบวนการดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวออนไลน์จีนมีศักยภาพในการสะสมข้อมูลเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจีนผ่านระบบ Big data ก่อนจะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวทาง User Generated Content (UGC)
3) การศึกษาภาพลักษณ์เมืองท่องเที่ยวและศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีนผ่านการทาเหมือง
ข้อความการศึกษารูปแบบการทาเหมืองข้อความ “คาสาคัญ” บนแอพพลิเคชั่นยอดนิยม และการใช้ประโยชน์จาก Big data ของแอพพลิเคชัน่ เพื่อศึกษาภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ และภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจีนมาสรุปและวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของจังหวัดท่องเที่ยวสาคัญทั้งสอง ซึ่งสามารถนาไปใช้สาหรับการกาหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม ขณะเดียวกันการวิจัยยังได้พยายามแสดงให้เห็นรูปแบบการใช้ประโยชน์จากข้อมูล Big data ซึ่งสามารถนามาใช้ทั้งเพื่อการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือวิจัยเช่น AHP และเครื่องมือทางสถิติอื่นๆ หรือการใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อต่อยอดไปสู่การวางแผนการให้บริการที่สอดคล้องกับข้อมูลด้านอุปสงค์ เช่นการวางแผนเส้นทางเดินรถประจาทางโดยวิเคราะห์จากเส้นทางการท่องเที่ยวยอดนิยมเป็นต้น ซึ่งรูปแบบงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการศึกษาที่ในอดีตจาเป็นต้องลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลด้วยการสำรวจสัมภาษณ์โดยตรงหรือผ่านแบบสอบถาม ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันสามารถอาศัยข้อมูลที่นำเสนอผ่านแอพพลิเคชั่นยอดนิยมเหล่านี้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีนได้อย่างรอบด้าน ในระยะเวลาที่สั้นและต้นทุนที่ต่ากว่า
4) การศึกษาตัวแบบธุรกิจเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวจีนแบบอิสระที่มีพฤติกรรมแบบ SoLoMo
จากการศึกษาแอพพลิเคชั่นเพื่อการท่องเที่ยวจีนที่ประสบความสำเร็จพบว่ารูปแบบการสร้างระบบนิเวศ (Eco-system) ทางธุรกิจโดยทั่วไปการตามขั้นตอนต่างๆคือ 1) สร้างกิจกรรมการให้บริการที่สามารถดึงดูดสมาชิกเข้ามาใช้บริการ 2) สร้างสรรค์บริการพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวก และ 3) ดึงดูดธุรกิจที่ให้บริการในส่วนย่อยต่างๆ เข้ามาอยู่ร่วมกัน และทำให้ในปัจจุบันสามารถมองเห็นการให้บริการด้านการท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการจีนได้ในทุกๆช่วงของห่วงโซ่อุปทานการให้บริการท่องเที่ยวประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น การจับจองที่พัก การเดินทาง ร้านอาหาร กิจกรรมบันเทิงสันทนาการ แพ็กเกจท่องเที่ยวในแบบ one day trip และการจำหน่ายของที่ระลึกในการศึกษาจึงได้เสนอแนะการใช้แนวทางการพัฒนาแพลทฟอร์มเพื่อผลักดันผู้ประกอบการไทยเข้าไปนาเสนอผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวในช่องทางการตลาดออนไลน์ของจีน นำเสนอตัวแบบธุรกิจเพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยให้เข้าสู่การใช้ประโยชน์ในแพลทฟอร์มออนไลน์ของประเทศจีน ภายใต้สมมติฐานที่ว่าสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยนำเสนอย่อมมีอัตลักษณ์ ความแตกต่างกับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวอื่นๆที่นำเสนอโดยผู้ประกอบการจีน ขณะเดียวกันก็เป็นการนำเสนอรูปแบบแผนธุรกิจที่อาศัยช่องทางการนำเสนอข้อมูลผ่านช่องทางที่แตกต่างและมีต้นทุนต่ำซึ่งเหมาะสมกับผู้ประกอบการไทยขนาดกลาง ขนาดเล็กที่ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอต่อการยกระดับตนเองเพื่อแข่งขันกับผ้ปู ระกอบการ OTA เพื่อการท่องเที่ยวรายใหญ่ของประเทศจีน
ในภาพรวมของการศึกษาครั้งนี้นอกเหนือจากเสนอแนะวิธีการใช้ประโยชน์จากการทำเหมืองข้อความและ ใช้ประโยชน์จาก Big data ของแอพพลิเคชั่นเพื่อการท่องเที่ยวสาคัญของจีน เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมและใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการตลาดที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน ตลอดจนนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อการท่องเที่ยวแล้ว งานวิจัยยังให้ความสำคัญกับการนำเสนอแนวทางให้กับผู้ ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทยเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวไทยในตลาดนักท่องเที่ยวจีน ทั้งนี้ด้วยนวัตกรรมทางดิจิตอลทำให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของตนด้วยต้นทุนทางนวัตกรรมที่ต่ำ แต่ทั้งนี้ก็ต้องทำความเข้าใจกับรูปแบบแพลทฟอร์มออนไลน์ต่างๆของจีน เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนจะคุ้นเคยเฉพาะกับแอพพลิเคชั่น ที่ให้บริการอยู่ในประเทศจีนเท่านั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องเป็นผู้ปรับเข้าหากับพฤติกรรมหรือความคุ้นเคยดังกล่าว จึงจะสามารถเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนได้