โครงการนี้พยายามเสนอตัวอย่างโมเดลทางเลือกในการพัฒนาบนพื้นที่สูงที่สอดรับกับบริบทและความหลากหลายของพื้นที่ โดยใช้วิธี Rapid appraisal วิเคราะห์ศักยภาพในท้องถิ่นและสแกนพืช สัตว์ และประมง 82 รายการ เพื่อนํามาพัฒนาฐานข้อมูลต้นทุนจากการศึกษามีข้อค้นพบสําคัญ คือ
1. น่านมีพื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตรจํากัดพื้นที่เกษตรอยู่ที่สูงแต่นํ้าอยู่ที่ลุ่ม ต้นทุนคมนาคมสูง ส่งผลให้การพัฒนาสินค้าเกษตรมีต้นทุนสูงและต้องการการจัดการดินและนํ้าอย่างเป็นระบบ
2. เกษตรกรก่อหนี้เพื่อจุนเจือการบริโภคในครัวเรือน แม้ว่าบางรายสามารถใช้หนี้ได้ แต่ส่วนใหญ่เป็นหนี้ตลอดชีวิต โดยมีกรมธรรม์เป็นหลักประกันการชําระหนี้
3. แม้ว่าทางเลือกเกี่ยวกับระบบเกษตรมีมากมายและหลากหลาย แต่ด้วยเงื่อนไขทางกายภาพและเศรษฐกิจครัวเรือน ทําให้ทางเลือกเหลือน้อย การตัดสินใจของเกษตรต้องการข้อมูลผลตอบแทนและต้นทุนที่ชัดเจน ทราบขนาดเงินลงทุน และต้องให้ได้รายได้ไม่น้อยกว่า 2 แสนบาท/ปี/ครัวเรือน
4. เพื่อให้มีรายได้ระดับเดียวกับข้าวโพด กัญชง (ผลิตเส้นใย) หม่อน และกล้วยนํ้าว้าเป็นสามทางเลือกที่ดีที่สุด และยังใช้พื้นที่น้อยกว่า ส่วนไม้ผลต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี และลงทุนสูง สําหรับการปลูกพืชผสมผสานที่เหมาะสมควรมี 2 ชนิด เนื่องจากจะมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน สําหรับปศุสัตว์อย่างแพะและไก่พื้นเมือง แม้ว่าใช้พื้นที่น้อย แต่ใช้เงินลงทุนสูง
บทสรุปเชิงนโยบายนี้นําเสนอข้อมูลสําคัญจากรายงาน เรื่อง “โมเดลทางเลือกในการพัฒนาคนไทย 4.0 บนพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบน” โดย รศ.ดร.ศิริพร กิรติการกุล และคณะ