EN/TH
EN/TH
วิจัยการท่องเที่ยว>[โครงการย่อยที่ 1] การวิจัยปัญหาและอุปสรรคด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองท่องเที่ยว
[โครงการย่อยที่ 1] การวิจัยปัญหาและอุปสรรคด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองท่องเที่ยว
ผู้วิจัย : กอบกลุ รายะนาคร และ สวรรยา วัฒนศิริเสรีกุล   โพสต์ เมื่อ 22 มีนาคม 2023
จำนวนผู้เข้าชม 210 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 23 ครั้ง

ในปัจจุบันการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องย่อมส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การจัดการขยะมูลฝอยที่เพิ่มพูนมากขึ้น การจัดการน้ำเสีย การจัดระเบียบโรงแรมและเกสต์เฮาส์ การคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณะ ชายหาด และการบำรุงรักษาโบราณสถานและแหล่งวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและแหล่งท่องเที่ยวโดยเอาพื้นที่ศึกษาเป็นตัวตั้ง สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคด้านกฎหมายและด้านการบริหารจัดการ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางและเครื่องมือในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมของเมืองท่องเที่ยว พื้นที่ศึกษาประกอบด้วยเมืองท่องเที่ยวที่มีลักษณะแตกต่างกันคือ ภูเก็ต เชียงใหม่ เมืองแม่สาย จังหวัดเชียงราย และเมืองเชียงคาน จังหวัดเลย วิธีการดำเนินการวิจัยได้แก่ การทบทวนกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ การจัดประชุมกลุ่มย่อยกับนักวิชาการ แกนนำกลุ่มอนุรักษ์เมืองและสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ การประชุมร่วมกับนักวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยเพื่อวิเคราะห์เครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง และการจัดทำข้อเสนอแนะด้านนโยบาย การปรับปรุงกฎหมายและมาตรการบริหารจัดการ

ผลการศึกษาวิจัยทำให้สามารถสรุปปัญหาในภาพรวมของการจัดการเมืองท่องเที่ยวได้ดังนี้

(1) การจัดการขยะมูลฝอย เป็นปัญหาสำคัญของเมืองท่องเที่ยวทุกแห่งในพื้นที่ศึกษา ปัจจุบันศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมของภูเก็ตต้องรองรับขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในจังหวัดจนเต็มขีดความสามารถของโรงงานเผากำจัดขยะของเทศบาลนครภูเก็ตแล้ว ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่มีปัญหาขยะตกค้างที่เกิดจากการเก็บขนขยะไม่ทั่วถึง และการลักลอบทิ้งขยะ ศูนย์กำจัดขยะแบบครบวงจรของเทศบาลตำบลแม่สายต้องรองรับปริมาณขยะที่นาเข้ามากาจัดในศูนย์มากกว่าค่าที่ออกแบบไว้ และโรงงานคัดแยกและกำจัดขยะของเทศบาลตำบลเชียงคานมีปัญหาทั้งเรื่องเครื่องจักรและขยะตกค้างหน้าโรงงานจำนวนมากจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเหตุเดือดร้อนรำคาญ

(2) การจัดการน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของ อปท. ในจังหวัดภูเก็ตและเทศบาลนครเชียงใหม่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ความรับผิดชอบ อีกทั้งยังมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการในชุมชนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อท่อระบายน้ำทิ้งของตนให้เข้ากับท่อรวบรวมน้ำเสียของเทศบาลอปท. ยังไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มที่ และยังมิได้ดำเนินการอย่างจริงจังให้แหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกควบคุมการปล่อยน้าทิ้งจัดส่งรายงานสรุปผลการทางานของระบบบำบัดน้าเสียของตนให้แก่ อปท.

(3) การอนุรักษ์โบราณสถานและที่ดินวัดร้าง เขตโบราณสถานของเจดีย์ในที่ดินวัดร้างหลายแห่งของจังหวัดเชียงใหม่ถูกบุกรุก ทาให้เสื่อมค่า และถูกบดบังจากการรับรู้ของสาธารณชน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินวัดร้างมุ่งเฉพาะเรื่องการหาผลประโยชน์จากค่าเช่าที่ดินวัดร้าง ในขณะที่กรมศิลปากรขาดแคลนทั้งบุคลากรและงบประมาณในการอนุรักษ์และบำรุงรักษาโบราณสถานต่างๆได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ การทางานที่มุ่งแต่เรื่องการอนุรักษ์ทางกายภาพทาให้ชุมชนขาดการมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของ

(4) การควบคุมอาคารและการจัดระเบียบโรงแรมและเกสต์เฮาส์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอปท. สามารถใช้อานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในการออกกฎกระทรวงและข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุมความสูง รูปทรง สถาปัตยกรรม และสีของอาคารเพื่อรักษาภูมิทัศน์และทัศนียภาพของเมือง รวมทั้งมีการประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อย่างไรก็ดี กฎหมายยังขาดมาตรการจูงใจให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเมือง ขาดกลไกในการชดเชยให้แก่เจ้าของที่ดินซึ่งถูกริดลอนสิทธิในการแสวงประโยชน์ จากการพัฒนาที่ดินของตนได้อย่างเต็มที่ และยังไม่มีมาตรการที่ช่วยสร้างความสมดุลระหว่างนโยบายของรัฐซึ่งเอื้อต่อธุรกิจโรงแรมและกิจการให้บริการสถานที่พักแก่นักท่องเที่ยวกับผลกระทบต่อประชาชนผู้อยู่อาศัยในเขตเมือง

(5) การจัดระเบียบชายหาด ประกาศจังหวัดภูเก็ตปี 2557 ห้ามยึดถือครอบครองที่สาธารณประโยชน์บริเวณหน้าหาด และต่อมาได้ผ่อนปรนให้ใช้พื้นที่ชายหาดได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของพื้นที่ชายหาด มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพบริเวณชายหาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มให้บริการร่มและเตียงชายหาดที่เคยอาศัยพื้นที่ดังกล่าวทำมาหากินมากว่า 40 ปี นโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวของภูเก็ตในอนาคตควรต้องแสวงหาแนวทางให้เกิดการกระจายผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวให้ตกถึงคนท้องถิ่นมากขึ้น รวมทั้งการกระจายอำนาจให้ อปท. เป็นผู้จัดระเบียบชายหาด

ข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยทำให้สามารถจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมในเมืองท่องเที่ยวดังนี้

(1) การเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจาก อปท. เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ทั้งเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย การควบคุมอาคารและการใช้ที่ดิน และการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณะ จึงควรเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของ อปท. อาทิเช่น ส่งเสริมให้อปท. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกาหนดให้ประชาชนคัดแยกขยะจากต้นทาง จัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนและการกาจัดขยะในอัตราที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ การคิดค่าบริการสาธารณะเพิ่มจากสถานที่พักนักท่องเที่ยวตามจานวนนักท่องเที่ยวที่เข้าพัก และการบังคับใช้กฎหมายกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่ไม่บาบัดน้าทิ้งของตน เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยควรกาหนด อปท. นำร่องเพื่อขับเคลื่อนให้เป็น อปท. ตัวอย่างในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง

(2) การปรับปรุงระบบบริหารจัดการ และการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองได้อย่างจริงจัง ดังเห็นได้จากตัวอย่างความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาน้าเน่าเสียและการรุกล้ำคลองแม่ข่า รวมทั้งลำน้ำสาขาของคลองแม่ข่าในช่วงตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา จังหวัดเชียงใหม่ควรแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดที่ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ เพื่อกำกับดูแลการให้เช่าที่ดินวัดร้าง การทบทวนสัญญาเช่า เงื่อนไขการเช่า รวมทั้งการเลิกสัญญาเช่าในกรณีที่สมควร แทนที่จะปล่อยให้เรื่องดังกล่าวเป็นอานาจหน้าที่ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดแต่เพียงผู้เดียว

(3) การเสริมสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการดำรงรักษาเมืองและฟื้นฟูเมืองเป็นเรื่องที่ต้องใช้งบประมาณสูง รวมทั้งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน จึงควรพิจารณาเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ที่จะช่วยในการเพิ่มทุน สร้างแรงจูงใจให้เอกชน ประชาชนทั่วไป และภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม อาทิเช่น การเก็บภาษีการท่องเที่ยว ยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีประเภทอื่นๆ ที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรให้แก่บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงิน โอนทรัพย์สิน หรือใช้จ่ายเงินในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือบำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยว การจัดตั้งเงินกองทุนหรือ Trust Funds เพื่อใช้ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์และภาษีการปล่อยน้าเสีย รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการโอนสิทธิการพัฒนา เป็นต้น