EN/TH
EN/TH
Policy Brief>Policy Brief อนาคตการเดินทางในเมืองหลักภูมิภาคจาก Mass Transit สู่ Mass Customization
Policy Brief อนาคตการเดินทางในเมืองหลักภูมิภาคจาก Mass Transit สู่ Mass Customization
ผู้วิจัย : ดร.เปี่ยมสุข สนิท   โพสต์ เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2023
จำนวนผู้เข้าชม 424 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 38 ครั้ง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเดินทางในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคตการเดินทางในเมืองหลักภูมิภาค (regional city) ของประเทศไทย โดยใช้กระบวนการและวิธีการคาดการณ์เชิงยุทธศาสตร์ (strategic foresight) ขอบเขตงานวิจัยมุ่งเน้นศึกษาการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและคัดเลือกเมืองหลักภูมิภาค 3 เมือง ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ เมืองขอนแก่น และเมืองหาดใหญ่-สงขลา เป็นกรณีศึกษา

จากการกวาดสัญญาณด้วยกรอบแนวคิด STEEPV สามารถวิเคราะห์เป็นภาพอนาคตฐาน (baseline future) ได้ว่าแนวโน้มการเดินทางในเมืองหลักภูมิภาคในอนาคตสอดคล้องกับแนวโน้มการเดินทางในเมืองหลวงอย่างมหานครกรุงเทพ โดยแพลตฟอร์มบริการขนส่งจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเดินทางในเมืองหลักในอนาคต แต่จะมีความแตกต่างจากเมืองหลวงตรงที่อาจจะไม่มีระบบขนส่งมวลชนทางรางเป็นแกนหลักการให้บริการขนส่งตามแนวคิด Mobility-as-a-Service หรือ MaaS การเดินทางในเมืองหลักจะมีการพฒั นาระบบขนส่งมวลชน โดยผลักดันให้รถสองแถวเป็นระบบขนส่งรอง มีการพัฒนาแพลตฟอร์มโดยภาคเอกชนตามแนวคิดการขนส่งฐานบริการ (private MaaS) โดยเน้นบริการขนส่งด้วยรถส่วนบุคคลร่วมโดยสาร รวมถึงยานยนต์สมัยใหม่ตามแนวคิด CASE ก็จะเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับการให้บริการขนส่งสาธารณะบนแพลตฟอร์มและสามารถคัดเลือกภาพอนาคตที่พึงประสงค์ (preferable future) ของการเดินทางในเมืองหลักได้ว่าจะมีกิจการขนส่งฐานบริการของเมือง (City MaaS) ที่ทำให้คนเมืองเดินทางได้อย่างสะดวกมีทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลาย เนื่องจากระบบขนส่งสาธารณะมีราคาถูก เน้นการเดินเท้าจักรยานและ micro mobility

บทสรุปเชิงนโยบายนี้นําเสนอข้อมูลสําคัญจากรายงาน เรื่อง “คนเมือง 4.0: อนาคตการเดินทาง ของคนเมืองในเมืองหลักภูมิภาคของประเทศไทย” โดย อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท