EN/TH
EN/TH
กลุ่มขับเคลื่อน>ส-กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านวัฒนธรรมโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง : กรณีอําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย-สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคณะ
ส-กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านวัฒนธรรมโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง : กรณีอําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย-สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคณะ
ผู้วิจัย : ผศ.ดร. สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 26 กรกฎาคม 2022
จำนวนผู้เข้าชม 198 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 4 ครั้ง

การศึกษาโครงการ กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านวัฒนธรรมโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง : กรณีอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อใช้การเล่าเรื่องเป็นวิธีการในการสร้างการตระหนักรู้ในกลุ่มนักเรียนเกี่ยวกับทุนชีวิตของพวกเขา (Life Asset) ในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่แม่แจ่ม 2) เสริมสร้างนักเรียนให้มีสำนึกด้านอัตลักษณ์ สำนักความเป็นเจ้าของ และพันธกิจต่อชุมชนแม่แจ่มผ่านกระบวนการรวบรวมและบอกเล่าเรื่องราว สนับสนุนการถ่ายโอนความรู้ข้ามรุ่นระหว่างนักเรียนและสมาชิกในชุมชน 3) กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน/สร้างความเข้มแข็งให้กับนักเรียน โดยเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีความเป็นเจ้าของกระบวนการทำงาน 4) สร้างสำนึกของความภาคภูมิใจและความสนใจร่วมกันผ่านนิทรรศการและการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่เป็นผู้ให้สัมภาษณ์และเป็นผู้ชม 5) เป็นกระบวนการจัดทรัพยากรและการฝึกอบรมให้กับครู เพื่อให้พวกเขาสามารถกลับไปช่วยนักเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมทั้งทางวิชาการ ทางสังคม และทางอารมณ์ 6) สร้างสำนึกของความภาคภูมิใจและความสนใจร่วมกันผ่านนิทรรศการและการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่เป็นผู้ให้สัมภาษณ์และเป็นผู้ชม7) แสดงให้นักเรียนได้เกิดความตระหนักรู้ว่าพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และสถาบันด้านวัฒนธรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและมีหน้าที่รับใช้ชุมชนในฐานะแหล่งความรู้และเป็นพื้นที่ทางกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนได้ 8) บริหารจัดการทรัพยากรการเรียนรู้และการฝึกอบรมให้กับครูเพื่อให้พวกเขาสามารถกลับไปช่วยนักเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมทั้งทางวิชาการ ทางสังคม และทางอารมณ์

จากการศึกษาพบว่า 1. กระบวนการ เล่าเรื่อง เป็นเครื่องมือในการสร้างการตระหนักรู้ทุนชีวิตของนักเรียน ผ่านกิจกรรมกลุ่ม และการจัดนิทรรศการ เป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง 2. เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน ทั้งทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม ทักษะในการวิเคราะห์ และ ทักษะในการสร้างสรรค์ 3. การเสริมสร้างนักเรียนให้มีสำนึกด้านอัตลักษณ์ สำนึกความเป็นเจ้าของ และพันธกิจต่อชุมชนผ่านกระบวนการสร้างความมั่นใจ กระบวนการทำให้นักเรียน เป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ กระบวนการเรียนรู้รากเหง้า รู้สิทธิ รู้เท่าทันการเปลี่ยน 4. สนับสนุนการถ่ายโอนความรู้ข้ามรุ่นระหว่างนักเรียนและสมาชิกในชุมชนผ่านกระบวนการการเชื่อมโยงสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับชุมชน การสร้างและพัฒนาบทบาทของครู และพิพิธภัณฑ์ ในการทำหน้าที่ส่งต่อความรู้ การพัฒนาทักษะในการบูรณาการกระบวนการจัดเรียนรู้เข้ากับรายวิชาของครูที่เข้าร่วมโครงการรับผิดชอบ 5. จัดทรัพยากรและการฝึกอบรมให้กับครูผ่านการจัดทรัพยากรและพื้นที่ให้ครูเรียนรู้จากผู้สอนมาเป็นผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง 6. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของนักเรียน จำนวนทั้งหมด 10 ผลิตภัณฑ์ 7. การสะท้อนผลการเรียนรู้จากโครงการของนักเรียนมีทั้งด้าน Head ความรู้ Heart ความรู้สึกและทัศนคติ และ Hand ทักษะทางวัฒนธรรม