EN/TH
EN/TH
กลุ่มขับเคลื่อน>น-การสังเกตการณ์และเสริมสร้างพฤติกรรมคนเมืองเพื่อขับเคลื่อน และสร้างการเปลี่ยนแปลงเมืองโดยใช้ข้อมูลนํา กรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่-นิรมล เสรีสกุล และคณะ
น-การสังเกตการณ์และเสริมสร้างพฤติกรรมคนเมืองเพื่อขับเคลื่อน และสร้างการเปลี่ยนแปลงเมืองโดยใช้ข้อมูลนํา กรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่-นิรมล เสรีสกุล และคณะ
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล และคณะ   โพสต์ เมื่อ 20 กรกฎาคม 2022
จำนวนผู้เข้าชม 176 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 6 ครั้ง

หัวหน้าโครงการ: ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล

สังกัด:  ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มการศึกษา: กลุ่มขับเคลื่อน

ระยะเวลาดำเนินงาน: 12 เดือน (1 เม.ย. 64 - 31 มี.ค. 65)

ปีที่ดำเนินโครงการภายใต้แผนงานฯ: ปีที่ 2

คณะวิจัย

1. นายอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้

2. นางสาวธนพร โอวาทวรวรัญญู

บทคัดย่อ

โครงการการสังเกตการณ์และเสริมสร้างพฤติกรรมคนเมืองเพื่อขับเคลื่อน และสร้างการเปลี่ยนแปลงเมืองโดยใช้ข้อมูลนํา กรณีศึกษา เมืองเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คําปรึกษา และทํางานร่วมกันกับภาคีขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่ และเพื่อศึกษา รวบรวม ออกแบบระบบฐานข้อมูลสําหรับภาคีขับเคลื่อนตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วม ถอดบทเรียนความสําเร็จ และร่วมกันแก้ปัญหา อุปสรรค เพื่อเสนอแนะยุทธศาสตร์ระยะยาวในการขับเคลื่อนการพัฒนา สร้างการเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงใหม่

จากการศึกษา พบว่า การทํางานการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมืองของเครือข่ายทางสังคมเมืองเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีองค์ประกอบที่ครอบคลุมในทุกมิติ กล่าวคือ มีการใช้ข้อมูลนําเพื่อสร้างความสนใจร่วม หรือสร้างให้เกิดข้อได้เปรียบในการเจรจาต่อรองหรือขับเคลื่อนการพัฒนามีส่วนร่วมของภาคส่วนในสังคมในการเสนอแนะ ยับยั้งการพัฒนาเมือง รวมถึงการสื่อสารและส่งต่อเจตนารมณ์ในการเคลื่อนไหวทางสังคมเมืองเชียงใหม่มากว่าศตวรรษของการเคลื่อนไหวทางสังคมเมืองเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนยังมีข้อจํากัดทั้งด้านการเคลื่อนงานพัฒนา ขาดกลไกการเชื่อมโยงผู้เข้ามาร่วมทํางาน ดังนั้นคณะวิจัย จึงมีข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมที่ครบองค์ประกอบโดยเพิ่มอํานาจและความสนใจของภาคเอกชนในบทบาทการมีส่วนร่วมด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมือง รวมถึงเพิ่มการประสานนโยบายระหว่างรัฐส่วนกลางกับท้องถิ่น 2) ด้านการใช้ข้อมูลเป็นฐานการขับเคลื่อนและจุดเชื่อมความสนใจร่วม สิ่งสําคัญ คือ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ และขีดความสามารถในการจัดการ และประยุกต์ใช้ข้อมูลเมือง และ 3) ด้านการสื่อสารที่ทรงพลังทั้งระหว่างภายในภาคีและต่อสาธารณะเพื่อขยายผลการสื่อสารสาธารณะและความสนใจ โดยใช้พลังการสื่อสารผ่านสื่อกระแสหลัก ร่วมกับสื่อใหม่เพื่อสร้างการตระหนักรู้ และขับเคลื่อนข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงใหม่