EN/TH
EN/TH
กลุ่มนโยบายสาธารณะและกฎหมาย>อ-การคิดลดเงินและผลลัพธ์ด้านสุขภาพจากโรคโควิด-19 และมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่-อัญชลี เพิ่มสุวรรณ และคณะ
อ-การคิดลดเงินและผลลัพธ์ด้านสุขภาพจากโรคโควิด-19 และมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่-อัญชลี เพิ่มสุวรรณ และคณะ
ผู้วิจัย : รศ.ดร.ภญ. อัญชลี เพิ่มสุวรรณ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 06 พฤษภาคม 2022
จำนวนผู้เข้าชม 203 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 15 ครั้ง

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราลดของเงินและผลลัพท์ทางสุขภาพสําหรับการประเมินทางเศรษฐศาสตร์รวมถึงเปรียบเทียบอัตราลดของเงินและผลลัพธ์ทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจากโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ยังได้ทําการประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายของประชาชนเพื่อหลีกเล่ียงความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจจากมลพิษทางอากาศ เพื่อนําไปใช้ในการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจบางส่วนที่เกิดจากโรคโควิด-19 และมลพิษทางอากาศ

การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการวัดอัตราลดทางตรงโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2564 จํานวน 1,202 ราย โดยแต่ละรายตอบคําถามจํานวน 2 ชุด ได้แก่ 1) ชุดคําถามสถานการณ์เกี่ยวกับเงิน จํานวน 1,202 ชุด และ 2) ชุดคําถามสถานการณ์เกี่ยวกับสุขภาพแบ่งเป็นกลุ่มที่ตอบคําถามในกรณีของการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจจากมลพิษทางอากาศ จํานวน 602 และ 600 ชุด ตามลําดับ และการประเมินความเต็มใจจ่ายจากวิธีการ Contingent Valuation Method (CVM)

ผลการทดลองเกี่ยวกับอัตราลดพบว่าการคิดลดของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันตาม Outcome domain และสถานการณ์สมมติที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากโควิด-19 หรือมลพิษทางอากาศ โดยแบบจําลองคิดลดที่นําไปพยากรณ์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้ดีที่สุดคือแบบจําลองที่มีอัตราลดคงที่ (Constant discounting) ค่าอัตราลด (Discount rate) ที่ได้จากแบบจําลองดังกล่าวสําหรับเงินสูงกว่าอัตราลดสําหรับสุขภาพ โดยในภาพรวม อัตราลดสําหรับเงินเท่ากับร้อยละ 6.2 และ อัตราลดสําหรับสุขภาพเท่ากับร้อยละ 1.3 เมื่อพิจารณาเฉพาะอัตราลดสําหรับสุขภาพ พบว่า อัตราลดสําหรับสุขภาพภายใต้สถานการณ์การเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 สูงกว่าสถานการณ์มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก คิดเป็นร้อยละ 2.4 และ 0.7 ตามลําดับ

ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่ออัตราลดในการศึกษานี้ได้แก่ ปัจจัยด้านกลุ่ม Generation X ครัวเรือนที่มีเด็กอายุต่ํากว่า 15 ปีและกลุ่มตัวอย่างที่มีโรคประจําตัว ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราลด ในขณะที่ระดับรายได้ครัวเรือน มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราลด ในขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ สถานภาพการสมรส การศึกษา อาชีพ และการสูบบุหรี่ ไม่มีผลต่ออัตราลด

ผลการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากค่าความเต็มใจจ่ายจากโรคโควิด-19 เท่ากับ 1,152.80 บาทต่อคนต่อปีและโรคจากปัญหามลพิษทางอากาศเท่ากับ 1,199.04 บาทต่อคนต่อปีโดยมูลค่าต้นทุนด้านสุขภาพของประชาชนอายุ 25 – 50 ปีในช่วงเวลา 20 ปีของจังหวัดเชียงใหม่ ในกรณีของโรคโควิด-19 อยู่ระหว่าง 11,002.81 ถึง 12,243.47 ล้านบาท ส่วนโรคทางเดินหายใจจากมลพิษทางอากาศ อยู่ระหว่าง12,734.51 ถึง 13,527.55 ล้านบาท