

เกษตรกรรมไทยมีประวัติการใช้เทคโนโลยีที่ได้ผลดี ใน 7 ทศวรรษที่ผ่านมา และมีโอกาสได้รับประโยชน์จากเทคโนเกษตรใหม่ – Agtech เช่นเดียวกับประเทศอื่น พัฒนาการในเกษตรศาสตร์ศึกษา ด้านเทคโนโลยีใหม่ในต่างประเทศ ได้รับความสําเร็จจากตอบสนองความต้องการทางการจัดการในระบบเกษตรของแต่ละท้องถิ่น บทความนี้วิเคราะห์ภาพรวมของเทคโนเกษตรใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของระบบเกษตรของประเทศไทย ที่ครอบคลุมกิจกรรมตั้งแต่ก่อนฟาร์ม ในฟาร์ม หลังการเก็บเกี่ยว และอุตสาหกรรมอาหาร และพัฒนาการในเกษตรศาสตร์ศึกษาในต่างประเทศ ได้ข้อสรุปเป็นแนวคิดเกี่ยวกับ การสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนเกษตรใหม่ในประเทศไทย โดยการปรับปรุงระบบเกษตรศาสตร์ศึกษา ใน 2 ประเด็น
1) หัวใจของเทคโนเกษตรใหม่ คือการบูรณาการความรู้เฉพาะทาง ในวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีการเกษตร เข้ากับวิทยาการใหม่ทางคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และอื่นๆ เนื่องจากความจําเพาะ ของเทคโนโลยีเกษตร กับเงื่อนไขสภาพแวดล้อม ทางนิเวศน์และเศรษฐกิจสังคมในแต่ละท้องถิ่น หลักสูตรเกษตรศาสตร์ศึกษาที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในต่างประเทศ จึงอาจมิใช่ต้นแบบ (Blueprint) สําหรับหลักสูตรฯ ในประเทศไทย การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนเกษตรใหม่ ในสาขาวิชาเฉพาะทางในวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีการเกษตร ที่มีเป้าหมายมุ่งไปที่เกษตรกรรมไทยอยู่แล้ว จึงเป็นสิ่งจําเป็นยิ่ง
2) มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาวิจัยในประเทศ มีบทบาทสําคัญในการสนับสนุน-รองรับการเปลี่ยนแปลง (Transformation/disruption) ที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนเกษตรใหม่ ใน 3 ทางคือ