EN/TH
EN/TH
กลุ่มส่องโลกปริทรรศน์>ช-การเติบใหญ่ของรัฐกับการปฏิรูปราชการไทยไปสู่ราชการ 4.0-ไชยันต์ รัชชกูล
ช-การเติบใหญ่ของรัฐกับการปฏิรูปราชการไทยไปสู่ราชการ 4.0-ไชยันต์ รัชชกูล
ผู้วิจัย : รศ.ดร. ไชยันต์ รัชชกูล   โพสต์ เมื่อ 30 มีนาคม 2022
จำนวนผู้เข้าชม 320 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 36 ครั้ง

บทความจากงานวิจัยเอกสารนี้ นําไปสู่ข้อคิด และประเด็นหลักๆว่า การเติบใหญ่ของรัฐไทยนั้นได้พัฒนามาเป็นช่วงๆ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2440 ถึงปีพ.ศ. 2564 ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 ช่วง โดยแต่ละช่วงมีพลวัตรต่างๆกันไป กล่าวคือ (1) การก่อตัวเป็นรัฐ (2) การวางรากฐานการทํางานของรัฐ ในการพัฒนา เศรษฐกิจการเมือง (3) การสร้างทรัพยากรมนุษย์(4) การถือหลัก “ความสงบเรียบร้อย” หรือ “ความมั่นคง” (5) การให้ความสําคัญต่อสวัสดิการ ความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของพลเมือง โดยเน้นหรือผสมนโยบายเหล่านี้ในระดับที่ต่างกันไปในต่างช่วงเวลา การอภิปรายข้อมูลนําไปสู่ประเด็นข้อคิดที่ว่า ปัญหามิได้อยู่ที่ รัฐอยู่ในสภาพเติบใหญ่ล้นเกิน แต่อยู่ที่การจัดวางความสําคัญซึ่งคํานึงถึงภาระหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่สมควร หรือไม่สมควรต่อการขยายตัวของรัฐ บทความนี้ลงข้อสรุป ด้วยการพิจารณาถึงผลกระทบของหน้าที่ของรัฐในมิติต่างๆ ที่มีต่อ ‘คนไทย 4.0’ และลงท้ายด้วยการพิจารณาข้อถกเถียงระหว่าง นักปรัชญาเรืองนามที่เสนอข้อคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับ คือ รอว์ลส์ (John Rawls) กับ โนซิค (Robert Nozick) ซึ่งเมื่อพิจารณาโยงกับกรณีรูปธรรมของประเทศไทยแล้ว ก็เห็นได้ว่า แต่ละแนวมีข้อจํากัด แม้ว่าจะเห็นโน้มไปในทางแนวคิดของรอว์ลส์แต่ก็สมควรประสานทั้ง 2 แนวตามมิติหน้าที่ของรัฐที่ต่างกันไป พร้อมกับเสริมด้วยการลดทอนหน้าที่ของรัฐที่ฉุดรั้งคุณประโยชน์ที่พึงมีต่อราษฎร