EN/TH
EN/TH
กลุ่มส่องโลกปริทรรศน์>ก-การควบคุมองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกําไรมาแบ่งปันกัน-กอบกุล รายะนาคร
ก-การควบคุมองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกําไรมาแบ่งปันกัน-กอบกุล รายะนาคร
ผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร. กอบกุล รายะนาคร   โพสต์ เมื่อ 03 กุมภาพันธ์ 2022
จำนวนผู้เข้าชม 371 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 7 ครั้ง

เนื้อหาในบทความนี้ ประกอบด้วยบทความครอบคลุมสาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดําเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกําไรมาแบ่งปันกันข้อคัดค้านเกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้ กฎหมายระหว่างประเทศที่รับรองสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มและรวมกันเป็นสมาคม และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิและเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประสบการณ์และกฎหมายของประเทศอื่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและส่งเสริม NPOs โดยจะพิจารณาทั้งในภาพรวมและนําเสนอกรณีตัวอย่างกฎหมายของบางประเทศที่จัดเป็นประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตย ประกอบด้วยประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (common law system) 2 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ และอินเดีย และประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย (civil law system) 2 ประเทศ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจว่าสังคมประชาธิปไตยอื่นๆมีนโยบายสาธารณะและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลและส่งเสริม NPOs อย่างไร นอกจากนี้ เนื่องจากข้อคัดค้านอีกประการหนึ่งต่อร่างกฎหมายว่าด้วยการดําเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกําไรมาแบ่งปันกันก็คือ ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่ควบคุมการดําเนินงานของ NPOs มากเพียงพออยู่แล้ว บทความนี้จึงจะนําเสนอกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของ NPOs พอสังเขปเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องนี้ ในตอนท้ายจะอภิปรายสรุปและนําเสนอแนวนโยบายสาธารณะที่เหมาะสมเกี่ยวกับการจัดการองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกําไรมาแบ่งปันกันในประเทศไทย เพื่อความสะดวกและความกระชับในการนําเสนอ ในที่นี้จะขอใช้คําว่า NPOs ในการกล่าวถึงองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกําไรมาแบ่งปันกันทุกรูปแบบไม่ว่าจะมีชื่อเรียกอย่างไร ซึ่งรวมความถึง NGOs, CSOs, มูลนิธิ สมาคม องค์กรการกุศล กลุ่มและองค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตลอดจนองค์กรในระดับชุมชนที่มีอยู่อีกมากมาย