EN/TH
EN/TH
กลุ่มอนาคตศึกษา>ภ-Policy Brief-คนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย การอยู่อาศัยของมหานครกรุงเทพ-ภัณฑิรา จูละยานนท์
ภ-Policy Brief-คนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย การอยู่อาศัยของมหานครกรุงเทพ-ภัณฑิรา จูละยานนท์
ผู้วิจัย : อ.ภัณฑิรา จูละยานนท์   โพสต์ เมื่อ 01 ธันวาคม 2021
จำนวนผู้เข้าชม 357 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 98 ครั้ง

ปรากฏการณ์การอยู่อาศัยแนวตั้ง (vertical living) ที่แบ่งพื้นที่การใช้ชีวิตของคนใส่ไว้ภายในกล่องปิดขนาดเล็กซ้อนชั้นกัน เป็นตึกสูงภายในรั้วคอนโดกระจายตัวอยู่ทั่วเมือง และปรากฏการณ์กระบวนการดิจิทัล (digitalization) ที่ทําให้ผู้คนใช้ชีวิตปัจเจกได้สะดวกขึ้น เชื่อมต่อกับคนไกลและตัดขาดจากคนใกล้ได้มากขึ้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสําคัญของมหานครกรุงเทพ งานวิจัยนี้มองปรากฏการณ์ดังกล่าวว่าเป็นสภาวะการแตกเป็นเศษเสี่ยงของพื้นที่และสังคมเมือง (fragmentation of urban spatial and social fabric) ทําให้ชีวิตคนเมืองไม่ยึดโยงกับผู้คนและสถานที่อย่างเหมาะสม ซึ่งส่งผลเชิงลบต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพกาย และสุขภาพจิตของคนเมืองรวมถึงเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเมือง ทั้งในด้านของประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และความเป็นธรรม สภาวะดังกล่าวจะทําให้คนเมืองมีความเปราะบางทาง สังคมเมืองมีความเปราะบางเชิงกายภาพ ส่งผลให้มหานครกรุงเทพมีความสามารถในการรับมือกับอนาคตรูปแบบต่างๆ ตํ่าลง

บทสรุปเชิงนโยบายนี้นำเสนอข้อมูลสำคัญจากรายงาน เรื่อง “คนเมือง 4.0: การอยู่อาศัยในเมือง” โดย อ.ภัณฑิรา จูละยานนท์ เสนอต่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม คนไทย 4.0 (2563)