EN/TH
EN/TH
หนังสือคู่มือ>คนไทยใจดี: ทบทวนแนวคิดจิตสาธารณะกับสังคมไทย
คนไทยใจดี: ทบทวนแนวคิดจิตสาธารณะกับสังคมไทย
ผู้วิจัย : ศ.เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 01 พฤศจิกายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 673 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 162 ครั้ง

แม้ปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2564) ผู้คนส่วนหนึ่งมักจะเข้าใจกันว่า คนไทยส่วนใหญ่มีความรู้สึกเป็นปัจเจกชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมทุนนิยมสมัยใหม่ หรือสังคมประชาธิปไตย และการขยายตัวของสังคมเมืองก็ตาม ขณะเดียวกัน ก็มีกระแสในสังคมไทยที่หันมาให้ความสำคัญกับความคิดเรื่องความเป็นชุมชนและจิตสาธารณะควบคู่ปะปนกันไป ดังบทความต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้พยายามยืนยันความคิดดังกล่าวอย่างชัดเจน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ปัจเจกชนไม่จำเป็นต้องเห็นแก่ตัวเสมอไป แต่พวกเขายังคิดถึงคนอื่นๆ ด้วย ผ่านการเอื้อประโยชน์ให้แก่สาธารณะในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อผลักดันให้ปรับเปลี่ยนคุณค่าหรืออุดมการณ์บางอย่างร่วมกัน แต่ผู้คนในสังคมไทยบางส่วนก็อาจจะยังคงให้ความสำคัญกับความเป็นชุมชน ซึ่งอาจก่อให้เกิดประเด็นปัญหาบางอย่างตามมา เมื่อยังสับสนระหว่างจิตสาธารณะกับความเป็นชุมชนที่มักจะซ้อนทับกันอยู่ เพราะคนในสังคมไทยทั่วๆ ไปยังยึดติดอยู่ในกับดักของความคิดคู่ตรงข้ามระหว่างปัจเจกชน สังคมและชุมชน


หนังสือเล่มนี้ได้รับความกรุณาจาก ศ. เกียรติคุณ ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ ที่ได้เขียนบทนำเริ่มต้นและขมวดปมในการกล่าวถึงบทความทั้ง 4 บทความเรื่องแนวคิดเรื่องจิตสาธาณะจากนักวิจัยทั้ง 4 ท่านภายใต้แผนงานคนไทย 4.0  ได้แก่บทความ ดังนี้


  • บทความที่ 1: การพัฒนากรอบแนวคิดเพื่อศึกษาจิตสาธารณะไทยในยุค 4.0 โดย กฤติยาพร วงษา
  • บทความที่ 2: จิตสาธารณะ (public minds) โดย รศ.ดร.จามะรี เชียงทอง
  • บทความที่ 3: ความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงการบริจาคเพื่อการกุศลในประเทศไทย โดย ดร.โรซาเลีย ชอร์ติโน (Dr. Rosalia Sciortino)
  • บทความที่ 4: Sense of Belonging: พลเมืองกับความไม่เป็นอื่น โดย ผศ.ดร.ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์