หนังสือแนวทางการออกแบบและพัฒนาเมืองท่องเที่ยวสำหรับประเทศไทย 4.0: กรณี ศึกษาพัทลุง ฉบับนี้เป็นหนังสือคู่มือที่เรียบเรียงขึ้นมาใหม่จาก รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ย่อยที่ 2 แนวทางการออกแบบและพัฒนาเมืองท่องเที่ยวสำหรับประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษา ภูเก็ต เชียงราย และพัทลุง ภายใต้แผนงานวิจัยแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเมืองยั่งยืนเพื่อรองรับ ท่องเที่ยวไทย 4.0 โครงงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
การศึกษาในครั้งนี้มีที่มาจากการที่เศรษฐกิจการท่องเที่ยวจะยิ่งทวีความสำคัญในการ พัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว พื้นที่เมืองเป็นพื้นที่บริการขั้นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการ ท่องเที่ยวจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา นอกจากนี้ การพัฒนาเมืองยังต้องคำนึงถึงการให้บริการขั้นพื้นฐานให้พอเพียงกับความต้องการของ ประชากรไปพร้อมกับสร้างโอกาสและลดผลกระทบของการท่องเที่ยวให้กับผู้อยู่อาศัย เพื่อให้การพัฒนาการท่องเที่ยวและเมืองดำเนินไปพร้อมกันได้อย่างยั่งยืน
หนึ่งในยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวระดับประเทศที่สำคัญในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองระดับรอง หนึ่งในพื้นที่เป้าหมายคือจังหวัดพัทลุง กรณีศึกษาการออกแบบเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยวในครั้งนี้จึงมีโจทย์สำคัญคือ การพัฒนาภาพลักษณ์ของพัทลุงจากเดิมเป็นเมืองศูนย์กลางของพื้นที่เกษตรกรรมและเป็นทางผ่านให้กลายมาเป็นแบรนด์ของเมืองท่องเที่ยวที่ต้องเชื้อเชิญให้ลองแวะพักค้างคืน รวมถึงการขับเน้นเอาเสน่ห์ทางวัฒนธรรมอื่นขึ้นขึ้นมาจนเปรียบเสมือนเป็นการสร้างแบรนด์เมืองขึ้นมาใหม่จากเดิมที่ไม่เคยมีอยู่ รวมถึงการวางกลยุทธ์การออกแบบเพื่อให้องค์ประกอบต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในพื้นที่เมืองสอดคล้องกลมกลืนกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นที่มีอยู่แล้ว