EN/TH
EN/TH
กลุ่มขับเคลื่อน>โครงการมหาวิทยาลัย 4.0 - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการมหาวิทยาลัย 4.0 - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้วิจัย : คณะทำงานมหาวิทยาลัย 4.0 เชียงใหม่   โพสต์ เมื่อ 18 สิงหาคม 2021
จำนวนผู้เข้าชม 211 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 7 ครั้ง

โครงการมหาวิทยาลัย 4.0 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ ของโลกที่จะมีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ตลอดจนจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยใช้กระบวนการคาดการณ์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Foresight) ในการดําเนินการ โครงการนี้เริ่มต้นด้วย การกําหนดขอบเขต (Scoping) และการกวาดสัญญาณ (Scanning) เพื่อให้ได้ปัจจัยขับเคลื่อนที่อาจมีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย ทําการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น (Possibility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ตลอดถึงระดับของผลกระทบ (Impact) ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและต่อมหาวิทยาลัย และสร้างฉากทัศน์ (Scenario) เพื่อการมองภาพอนาคต (Forecasting) จากนั้นนําฉากทัศน์ที่สร้างขึ้นไปเทียบกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2560-2564) ฉบับปรับปรุงระยะครึ่งแผน นอกจากนี้ คณะทํางานยังนําข้อมูลที่ได้มาสร้างภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี 2583 (Preferable future) และนํากระบวนการมองภาพอนาคตย้อนกลับ (Backcasting) มาระบุปัจจัยต่าง ๆ ทั้งที่เป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่ภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใน 20 ปีข้างหน้า

ผลจากการดําเนินงานตามโครงการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1. การสร้างฉากทัศน์และผลการเทียบฉากทัศน์ของโครงการมหาวิทยาลัย 4.0 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2560-2564) ฉบับปรับปรุงระยะครึ่งแผน ผลปรากฏว่า วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 ใน 6 ด้านมีความสอดคล้องกับทั้ง 4 ฉากทัศน์ที่กําหนดขึ้น ซึ่งได้แก่ การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอาหารและสุขภาพ การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการจัดการศึกษา การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการจัดการนวัตกรรม และการบริหารจัดการองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศจากผลการดําเนินนี้ ทําให้ได้แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์สําหรับมหาวิทยาลัยเพื่อการปรับปรุงและจัดทําแผนยุทธศาสตร์ในอนาคต และส่วนที่ 2. คณะทํางานได้แสดงภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในอนาคต 20 ปีและมองภาพอนาคตย้อนกลับ (Backcasting) จากการดําเนินการนี้ คณะทํางานได้ระบุปัจจัยต่าง ๆ ทั้งที่เป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่ภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใน 20 ปีข้างหน้าโดยคณะทํางานได้ระบุปัจจัยต่าง ๆ ใน 3 องค์ประกอบหลัก (Values) คือ 1) Customized Flexible Learning 2) Global and High Impact Research และ 3) Flexible Management ซึ่งสามารถนําไปเป็นแนวทางในการจัดทําแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 ต่อไป