การวิจัยมหาวิทยาลัย 4.0 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยผ่านเทคนิคการมองภาพอนาคตเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Foresight) มีขั้นตอนในการดำเนินงานหลัก 6 ขั้นตอน และมีขั้นตอนในการดำเนินการย่อยได้แก่ การกำหนดขอบเขต (Scoping) การกำหนดหลักการ ข้อสมมุติ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ การตั้งคณะทำงาน การวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและการสร้างบรรยากาศของกระบวนการคาดการณ์การกวาดสัญญาณ (scanning) การวิเคราะห์และสร้างแผนที่ระบบการศึกษาความเป็นมาในอดีต การกวาดสัญญาณหาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง การมองภาพอนาคต (Forecasting) การวิเคราะห์ปัจจัยขับเคลื่อน (Drivers) และความไม่แน่นอน การพัฒนาฉากทัศน์ (Scenario Building) การสร้างวิสัยทัศน์ (Visioning) การวิเคราะห์ผลกระทบและนัยของภาพอนาคต การกำหนดภาพอนาคตที่พึงประสงค์และวิสัยทัศน์การวางแผน (Planning) การสร้างทางเลือกยุทธศาสตร์ การพยากรณ์ย้อนกลับ (Back Casting) การทำแผนที่นำทาง (Road Mapping) และการดำเนินการ (Acting) การเผยแพร่ผลลัพธ์การคาดการณ์การสร้างระบบคาดการณ์ต่อเนื่องให้กับองค์กร
การวิจัยกำหนดขอบเขตการศึกษา หลักการ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลและความเป็นมาในอดีต แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง การค้นหาปัจจัยขับเคลื่อนและสัญญาณแห่งอนาคตที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จนสามารถนำไปพัฒนาเป็นฉากทัศน์ที่เป็นไปได้ในอนาคต โดยยึดข้อมูลตามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักได้แก่ 1) ผู้บริหารมหาวิทยาลัย 2) อาจารย์และบุคลากร 3) นักศึกษาปัจจุบัน 4) ศิษย์เก่า 5) ผู้ใช้บัณฑิต 6) ตัวแทนผู้ปกครอง 7) ภาคประชาสังคม ครอบคลุมขอบเขตด้านพื้นที่ทั้ง 5 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย
ผลการศึกษาพบว่ามีสัญญาณแห่งอนาคตที่จะกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 18 สัญญาณ ภายใต้หมวดของกรอบแนวคิด STEEPV (Social, Technological, Economic, Environmental, Political, and Values) จนสามารถพัฒนาเป็นออกเป็น 4 ฉากทัศน์ ได้แก่
โดยเสนอแนะถึงทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยใน 20 ปีข้างหน้าที่ควรมีการพัฒนาไปสู่แนวทางของ PSU.biz ลดสัดส่วนของ PSU.edu ในขณะที่ยังคงดำเนินงานในรูปแบบของ PSU.org และ PSU.com แต่อยู่ในสัดส่วนที่น้อยลง