EN/TH
EN/TH
กลุ่มส่องโลกปริทรรศน์>ส- โครงสร้างตลาดแรงงานไทย: จากอดีตสู่อนาคต-สุพรรณิกา ลือชารัศมี
ส- โครงสร้างตลาดแรงงานไทย: จากอดีตสู่อนาคต-สุพรรณิกา ลือชารัศมี
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.สุพรรณิกา ลือชารัศมี   โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 317 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 62 ครั้ง

การก้าวจากภาคเกษตรไปสู่ภาคการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น การแปรรูปอาหารและการส่งออกตลอดจนการนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้เปลี่ยนรูปแบบการทําเกษตรกรรม ล้วนเป็นกลไกของการพัฒนาของประเทศและเป็นผลดี แต่เมื่อภาคเกษตรรูปแบบปัจจุบันมีบทบาทในลดความเสี่ยงในตลาดแรงงานของประเทศไทย ก็เกิดคําถามว่าการลดขนาดลงของภาคเกษตรรูปแบบนี้ในอนาคต จะมีผลกระทบต่อแรงงานอย่างไร จะเป็นอย่างไรถ้าเศรษฐกิจตกต่ํา โรงงานย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน หรือแม้กระทั่งการที่ผู้ประกอบการนําเครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงาน แต่แรงงานที่สูญเสียงานไม่สามารถกลับบ้านไปทําไร่ทํานาที่บ้านเกิดได้ ในปัจจุบันแรงงานสูงอายุที่มีเงินออมไม่เพียงพอในภาคเกษตรสามารถทําเกษตรเพื่อหารายได้ต่อไปได้ แต่แรงงานผู้ใหญ่ (อายุ 25-59 ปี) และแรงงานเยาวชน (อายุ 15-24 ปี) ในปัจจุบันทํางานเป็นลูกจ้างเอกชนถึงร้อยละ 38.2 และ 57.2 ตามลําดับ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้โดยมากมีกําหนดการเกษียณอายุ หากมีเงินออมไม่เพียงพอหรือไม่มีครอบครัวที่พร้อมจะดูแล จะมีตลาดแรงงานส่วนอื่นมารองรับอย่างเพียงพอหรือไม่ ภาคส่วนไหนของตลาดแรงงานยุคใหม่จะมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะเข้ามามีบทบาทในการรองรับแรงงานว่างงาน แรงงานที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาในระบบหรือแรงงานสูงอายุ หรือจากการที่ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมอาหารที่แข็งแรงและมีแนวโน้มขยายตัว จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะวางนโยบายให้แรงงานในภาคเกษตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานได้รับผลประโยชน์ในระดับที่พัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกร พร้อมทั้งให้ภาคเกษตรยังคงรักษาบทบาทในการลดความเสี่ยงในตลาดแรงงานด้วย

อ่านบทความฉบับย่อ บทความโครงสร้างตลาดแรงงานไทย