รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนการพัฒนาบนพื้นที่สูง เพื่อค้นหาเงื่อนไขและข้อ จำกัดต่างๆ เพื่อประกอบข้อเสนอแนะในการวางแนวทางการส่งเสริมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การประกอบอาชีพ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน 2) พัฒนา และนำเสนอโมเดลทางธุรกิจที่เป็นทางเลือกสำหรับรองรับเศรษฐกิจที่สูง 4.0 ที่สอดรับกับบริบทและความ หลากหลายของพื้นที่ ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ที่รวมถึงภาคการ แปรรูปและการให้บริการที่เป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 3) เติมเต็มช่องว่างทางนโยบายและเสนอทางเลือกใน การพัฒนาชีวิตของคนที่สูงบนพื้นฐานของภาพอนาคตเศรษฐกิจที่สูง 4.0 ผลการศึกษา พบว่า
การถอดบทเรียนความสำเร็จโครงการพัฒนาบนพื้นที่สูงในจังหวัดน่าน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ พบว่า ระดับภาครัฐ ปัจจัยแห่งความสำเร็จต้องมีการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ โดยเฉพาะการ จัดการน้ำและการตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจและการจัดการโซ่อุปทานในพื้นที่ สำหรับ โครงการที่ไม่บรรลุเป้าหมาย ความล้มเหลวเกิดจากการส่งเสริมภารกิจด้านเดียวโดยไม่มีการลงทุนในโครงสร้าง พื้นฐาน ในระดับชุมชนปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาอาชีพต้องมีการสร้างแรงจูงในการลงทุนของ ครัวเรือน การพัฒนาธุรกิจชุมชนต้องมีการรวมกลุ่มการจัดการโซ่อุปทานการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดต้นทุน เพื่อให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้บนเงื่อนไขสำคัญ ประกอบด้วย เงื่อนไขด้านพื้นที่ และด้านเศรษฐกิจ สังคม ที่ทำให้คนอยู่ร่วมกับป่า
พื้นที่ของจังหวัดน่าน 7.17 ล้านไร่ ร้อยละ 85 อยู่พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 การจัดที่ดินให้ชุมชนต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข คทช. ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เป็นพื้นที่ลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ร้อยละ 72 เป็นดินไม่เหมาะสมต่อการเกษตร ดังนั้นพื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตรจึงมีจำกัด รวมทั้งต้องลงทุนในการจัดการ น้ำเพื่อดึงน้ำจากที่ลุ่มไปทำการผลิตเกษตรบนพื้นที่สูง นอกจากนี้ครัวเรือนเกษตรยังมีข้อจำกัดด้านแรงงาน และการคมนาคม ที่ส่งผลให้การพัฒนาระบบเกษตรมีต้นทุนสูง โครงการนี้ได้ออกแบบทางเลือก 3 ระดับ (ระดับระบบเกษตร ระดับครัวเรือน และระดับโครงการ) ภายใต้เงื่อนไขการลดพื้นที่ ครัวเรือนสามารถสร้าง รายได้ไม่น้อยกว่าเดิม จากการสำรวจระบบการผลิตเกษตรที่เป็นอาชีพทางเลือกในพื้นที่สูง 82 รายการ และใช้ โปรแกรมเชิงเส้นตรงเพื่อค้นหาระบบเกษตรในการทดแทนการปลูกข้าวโพด ภายใต้เงื่อนไขของขนาดเงินลงทุน (100,000 บาทต่อครัวเรือน) ขนาดพื้นที่ (10 - 20 ไร่ต่อครัวเรือน) และสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 100,000 บาท ต่อปีต่อครัวเรือน โมเดลอาชีพทางเลือกแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ได้ดังนี้
ระดับระบบเกษตร โมเดลอาชีพทางเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4 และ 5 มี 3 ทางเลือก ประกอบด้วย 1) การปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ได้แก่ กัญชงเพื่อใช้เส้นใย หม่อน กล้วยน้ำว้า) 2) การปลูกไม้ผล (ได้แก่ โกโก้ มะม่วงน้ำดอกไม้ กาแฟอาราบิก้า มะขามเปรี้ยว และไผ่ซาง) และ 3) การปลูกพืชผสมผสาน (ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้+กล้วยน้ำว้า มะม่วงน้ำดอกไม้+กาแฟอาราบิก้า หรือเพิ่มปศุสัตว์ได้แก่ แพะ ไก่พื้นเมือง โค พื้นเมือง) โมเดลอาชีพทางเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 พืชที่เหมาะสมกับการปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ มี 2 ทางเลือก ประกอบด้วย 1) การปลูกพืชอย่างเดียว (ได้แก่ มะขามเปรี้ยว ไผ่ซาง ผักหวานป่า)และ 2) การเกษตรผสมผสาน (ปลูกพืช + ปศุสัตว์) (ได้แก่ มะขามเปรี้ยว+แพะ ไผ่ซาง+แพะ)
ระดับครัวเรือน ได้นำผลการวิเคราะห์ตัวแบบครัวเรือนในระดับตำบล ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตัวแบบ และนำตัวแบบที่ 2 (ตัวแบบครัวเรือนที่ต้องการระยะเวลาปรับตัว) และ 3 (ตัวแบบครัวเรือนที่ต้องปรับเปลี่ยน อาชีพใหม่) มานำเสนอโมเดลอาชีพทางเลือก พบว่า ตัวแบบครัวเรือนที่ 2 ระบบเกษตรทางเลือก ได้แก่ การ ปลูกกาแฟ และเพิ่มปศุสัตว์ได้แก่ แพะ ไก่พื้นเมือง โคพื้นเมือง ตัวแบบครัวเรือนที่ 3 ระบบเกษตรทางเลือก ได้แก่ ไผ่ซาง กัญชง (เส้นใย) กาแฟ ไม้ผล (มะขามเปรี้ยว) และเพิ่มประมง ได้แก่กบ และ/ปลาดุก
ระดับโครงการ การพัฒนาโมเดลอาชีพทางเลือกภายใต้ข้อสมมติเงินสนับสนุนคืนพื้นที่ป่า การ ชดเชยการปลูกข้าวโพดแบบไม่เผา การสนับสนุนการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน การจัดสรร งบประมาณสำหรับหน่วยประสานงาน และการหาแหล่งสินเชื่อ มี 3 ทางเลือก ประกอบด้วย ทางเลือกที่ 1: ประสานกลไกรัฐ ทางเลือกที่ 2: ประสานกลไกรัฐร่วมกับการจัดการน้ำ ทางเลือกที่ 3: ประสานกลไกรัฐร่วมกับ การจัดการน้ำและการหาแหล่งสินเชื่อ
ในการศึกษาการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรในจังหวัดน่าน 10 เมนูโดยกลุ่มพืชเรียงลำดับจาก ผลตอบแทนต่อไร่ต่อปี ประกอบด้วย โกโก้มะม่วงน้ำดอกไม้ไผ่ซาง กาแฟ ลำไย มะม่วงหิมพานต์ปศุสัตว์ ประกอบด้วย ไก่พื้นเมือง แพะ โคเนื้อ และประมง (ปลาดุก) ตามลำดับ ผลการศึกษา พบว่า ลำไยมีการจัดการ โซ่อุปทานที่เข้มแข็งสูงสุด รองลงมาได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้โกโก้โคเนื้อ ไก่พื้นเมือง ไผ่ซาง กาแฟ และแพะ ตามลำดับ ในขณะที่มะม่วงหิมพานต์ยังไม่มีความพร้อมในโซ่อุปทานการผลิต รวมทั้งปลาดุกที่ยังไม่มีความ เชื่อมโยงโซ่การผลิต แต่มีศักยภาพในการพัฒนาโซ่อุปทานการผลิต
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย