EN/TH
EN/TH
กลุ่มนโยบายสาธารณะและกฎหมาย>ศ- การจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ศิวาพร ฟองทอง
ศ- การจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ศิวาพร ฟองทอง
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.ศิวาพร ฟองทอง   โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 165 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 4 ครั้ง

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกรใน 3 ประเด็นได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการการเงินของครัวเรือนด้านรายได้ การใช้จ่าย หนี้สิน และการออม 2) พฤติกรรมการก่อหนี้และการบริหารจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตร รวมถึงรูปแบบและลักษณะการผัดหนี้ของครัวเรือนเกษตร และ 3) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดหนี้ของเกษตรกร โดยใช้ข้อมูลสําคัญ 2 ส่วนส่วนแรกจากโครงการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือย อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2561 ซึ่งมีข้อมูลจํานวน 469 ครัวเรือนตัวอย่าง และส่วนที่สองเป็นข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรในเขตอําเภอกมลาไสย และอําเภอร่องคํา จังหวัดกาฬสินธุ์ จํานวน 103 ครัวเรือน

ผลการศึกษาพบว่าครัวเรือนที่มีแบบแผนการผลิตที่ต่างกันจะมีรูปแบบวิธีการจัดการการเงินของครัวเรือนแตกต่างกัน กล่าวคือ 1) ครัวเรือนที่ปลูกข้าว แม้ว่าจะไม่ขาดทุนจากการทําการเกษตร แต่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของครอบครัว ต้องพึ่งพารายได้นอกภาคการเกษตรเป็นหลัก และบางครั้งก็ต้องกู้ยืมเงินเพื่อมาใช้จ่ายในครัวเรือน 2) ครัวเรือนที่ปลูกข้าวและผักสวนครัว มีรายได้เสริมจากการปลูกผัก เป็นเพิ่มสภาพคล่องให้กับครัวเรือน ครัวเรือนในกลุ่มนี้มีหนี้สินสะสมต่อครัวเรือนไม่มากนัก แต่เนื่องจากครัวเรือนมีรายได้นอกภาคการเกษตรค่อนข้างน้อย บางครัวเรือนเกิดปัญหาในการชําระคืนเงินกู้โอกาสหลุดพ้นจากการเป็นหนี้ค่อนข้างน้อย 3) ครัวเรือนที่ปลูกข้าวและข้าวโพด ครัวเรือนมีที่ดินทํากินอยู่นอกเขตชลประทาน เป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางการเงินมากที่สุด รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย จําเป็นต้องกู้ยืมเพื่อการลงทุนและการบริโภคความสามารถในการชําระหนี้และโอกาสหลุดพ้นจากการเป็นหนี้น้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ 4) ครัวเรือนที่ปลูกข้าวและอ้อย ครัวเรือนในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีฐานนะทางเศรษฐกิจดีกว่ากลุ่มอื่นๆ ทั้งรายได้จากภาคการเกษตรและรายได้นอกภาคการเกษตร แม้จะมีหนี้สินสะสมค่อนข้างมาก แต่ก็มีความสามารถในการชําระคืนเงินกู้อยู่ในระดับสูง และ 5) ครัวเรือนที่ปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์มีรายได้จากการเกษตรน้อยที่สุด แต่สามารถพึ่งพิงรายได้นอกภาคการเกษตรจากสมาชิกคนอื่นๆ ในครัวเรือน มีความสามารถในการชําระหนี้ได้ดีอย่างไรก็ตามครัวเรือนทั้ง 5 กลุ่มให้ความสําคัญกับการลงทุนด้านการศึกษาของบุตรเป็นลําดับต้นๆ และมีพฤติกรรมการออมไม่แตกต่างกันมากนัก

สําหรับพฤติกรรมการก่อหนี้มีแรงจูงใจในการก่อหนี้เนื่องจากเงินไม่พอใช้จึงจําเป็นต้องกู้ ต้องการกู้เพื่อรักษาสิทธิ์ให้เท่าเทียมกับคนอื่น กระแสบริโภคนิยม และการยืมแทนบุคคลอื่น ทั้งนี้แหล่งเงินกู้สําคัญของครัวเรือนเกษตรกร คือ กองทุนหมู่บ้าน และ ธ.ก.ส. ในภาพรวมโอกาสที่ครัวเรือนเกษตรกรจะหลุดพ้นจากการเป็นหนี้นั้นค่อนข้างยาก

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ก่อให้เกิดหนี้ พบว่า การเข้าถึงบริการทางการเงินที่ง่ายขึ้นทําให้ครัวเรือนเป็นหนี้มากขึ้น และการพักชําระหนี้ทําให้ความเข้มงวดทางการเงินของครัวเรือนลดลง