EN/TH
EN/TH
โครงการ ประเทศไทยในอนาคต (Future Thailand)>น- คนเมือง 4.0 : อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย โครงการย่อยที่ 8 - งานสังเกตการณ์และขับเคลื่อนเมือง-นิรมล เสรีสกุล
น- คนเมือง 4.0 : อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย โครงการย่อยที่ 8 - งานสังเกตการณ์และขับเคลื่อนเมือง-นิรมล เสรีสกุล
ผู้วิจัย : ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล และคณะ   โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 215 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 80 ครั้ง

ในการเปลี่ยนผ่านของโลก เข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน ทําให้รูปแบบการใช้ชีวิตความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็นถูกถ่ายทอดและถูกจัดเก็บในพื้นที่ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ในทางกลับกันสื่อสังคมออนไลน์นี้ยังช่วยให้เกิดปฎิสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในบริบทเมืองและย่านได้ง่ายมากขึ้น การสังเกตการณ์และขับเคลื่อนเมือง (Urban Observatory and Engagement) ผ่านการมีส่วนร่วมจากสาธารณชนจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ถูกนํามาใช้ในการเรียนรู้ศึกษา และใช้เป็นเครื่องเมืองในการขับเคลื่อนและสนับสนุนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมือง ผ่านประเด็นร่วมสาธารณะที่มีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่และเศรษฐสังคมในเมืองหรือย่านนั้นๆ

งานสังเกตการณ์และขับเคลื่อนเมือง ในโครงการคนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตคนเมืองในประเทศไทย จึงมีวัตถุประสงค์ที่สําคัญ 4 ประการ คือ (1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาสถานการณ์ของเมือง (2) รวบรวมจัดการ วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลและสร้างองค์ความรู้จากประเด็นเหล่านั้น (3) สร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรหน่วยงานรับผิดชอบ ผู้มีส่วนได้เสีย และภาคีทุกภาคส่วน และ (4) สร้างการตระหนักรู้ในสถานการณ์เมืองสู่สาธารณะผ่านการสื่อสารและกิจกรรมการมีส่วนร่วมผลลัพธ์สําคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก การจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะของเมืองในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมและการตระหนักรู้ในกิจกรรมระดับเมืองที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตการณ์และการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์เมือง รวมถึงเป็นพื้นที่สําหรับการสนทนาและแสดงความคิดเห็นข้อถกเถียงอย่างเปิดกว้าง อาทิกิจกรรมอบรมนักสํารวจเมืองผ่านการใช้ข้อมูลเมือง กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการประเด็นร่วมสาธารณะ กิจกรรมเสวนาสาธารณะและ WEBINAR เป็นต้น ประการที่ 2 การสร้างสรรค์องค์ความรู้ผ่านช่องทางแพลทฟอร์มออนไลน์ในรูปแบบบทความ ซึ่งสร้างการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมกว่า 700K ครั้ง ประการที่ 3 การสร้างความร่วมมือในระดับองค์กร และกลุ่มภาคีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมือง อาทิในประเด็นด้านพื้นที่สาธารณะของเมืองซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตนอกบ้านของผู้คนในเมือง การหารือความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานส่วนกลาง ท้องถิ่น และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องในรูปแบบการประชุมคณะทํางานและการประชุมในระดับทวิและพหุภาคีเป็นต้น นอกจากนี้ผลลัพธ์สืบเนื่องอีกประการที่สําคัญคือ การรวบรวม จัดการ และนําเสนอฐานข้อมูลเมืองแบบเปิด (Urban Open Data) ผ่านแพลตฟอร์มที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างโครงการคนเมือง 4.0 และโครงการ Open Data for a more Inclusive Bangkok อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในเป้าหมายสําคัญของงานด้านการสังเกตการณ์และขับเคลื่อนเมืองนั่นคือการสร้างให้เกิดสถาบันหรือหน่วยสังเกตการณ์เมือง ซึ่งจําเป็นต้องมีการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องในระยะยาว รวมถึงการประสานภาคีและหน่วยงานสังเกตการณ์เมืองอื่นๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในระดับประเทศต่อไป