EN/TH
EN/TH
กลุ่ม Big data และดัชนีสังคมไทย>ด-ความเหลื่อมล้ำด้านการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย-ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
ด-ความเหลื่อมล้ำด้านการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย-ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
ผู้วิจัย : ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะ   โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 190 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 10 ครั้ง

ความสําคัญและที่มาของปัญหาการวิจัยการประกาศใช้ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 การจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินไนประเทศไทยมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ละปีจํานวนผู้ป่วยฉุกเฉินขอรับการบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การกระจายและการจัดสรรทรัพยากรให้แต่ละพื้นที่ (จังหวัด) มีความแตกต่างกัน ทําให้ไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่และรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างครอบคลุม เกิดช่องว่างการให้การบริการ (อุปทาน) และเข้าไม่ถึงการบริการพร้อมกัน (อุปสงค์)

วัตถุประสงค์การวิจัย มี 2 ประการ คือ หนึ่ง ศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ําที่เกี่ยวข้องกับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยประมวลข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อเข้าใจสถานการณ์การให้บริการบริการแพทย์ฉุกเฉินในแต่ละจังหวัด และสอง การวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนําผลมาอภิปรายเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ํา และเพิ่มประสิทธิผลการให้บริการ EMS

วิธีการศึกษา การรวิจัยใช้วิธีการเชิงปริมาณ โดยประมวลและวิเคราะห์จากฐานข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉิน (ITEM) ทําการวิเคราะห์และเปรียบเทียบอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น (incidence) และชี้วัดผ่านตัวชี้วัดการจัดบริการ (service provision) อีกทั้ง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ลงพื้นที่ภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและจัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อสังเคราะห์ปัญหาและแนวทางปรับปรุงระบบบริการ

ผลการศึกษา พบว่า (1) ระบบ EMS มีการกระจายตัวทุกจังหวัด แต่ทุกจังหวัดมีความแตกต่างกันในมิติพื้นที่ อาจมีปัญหาความไม่พอเพียงของการบริการและความไม่มีประสิทธิผล (2) จํานวนการให้บริการ EMS มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ความต้องการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ การป่วยฉุกเฉิน และอุบัติเหตุทางถนน ทั้งนี้ จํานวนผู้ป่วยฉุกเฉินที่ขอใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน (3) โดยเฉลี่ยร้อยละ 70 ของการบริการ EMS สามารถเข้าถึงผู้ป่วยฉุกเฉินได้ภายในเวลา 8 นาที อีกร้อยละ 30 ใช้เวลาเกินกว่าเป้าหมาย เนื่องจากอุปสรรคหลายรูปแบบของพื้นที่ (จังหวัด) ที่มีความแตกต่างกัน (4) แต่ละจังหวัดมีสัดส่วนจํานวนผู้ป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุทางถนนต่อจํานวนผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งหมด แตกต่างกัน ทั้งนี้ ผู้ป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุสําคัญ ส่งผลต่อภาระการท้างานที่มากขึ้น (5) ดัชนีภาระงาน (Workload indicator) มีความเหลื่อมล้ําระหว่างจังหวัดอย่างมีนัยสําคัญ (6) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กําหนดนโยบายเร่งการถ่ายโอนภารกิจศูนย์สั่งการการแพทย์ฉุกเฉินให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นกลไกดําเนินการ และ (7) การประเมินประสิทธิผลการบริการ (policy effectiveness) ตามเกณฑ์ระยะเวลาการเข้าถึงผู้ป่วย (response time) ภายใน 8-10 นาที แต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ก) ควรจัดสรรทรัพยากรให้กับบางพื้นที่ (ระดับจังหวัด) ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์การได้รับทรัพยากรทางการแพทย์ฉุกเฉินไม่เพียงพอ และ/หรือไม่บรรลุประสิทธิผลการดําเนินงาน ข) ควรถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้รับบทบาทหน้าที่ภายในจังหวัด และ ค) การปรับปรุงอัตราเงินสนับสนุนการจัดบริการ EMS ให้แก่หน่วยจัดบริการระดับพื้นที่ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้หน่วยบริการในพื้นที่

คําสําคัญ: การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ความเหลื่อมล้ํามิติพื้นที่