EN/TH
EN/TH
กลุ่มการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต>ด- การพัฒนาอภิปัญญาของนักเรียนไทย 4.0 : การศึกษานำร่อง วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย- ดวงหทัย กาศวิบูลย์และคณะ
ด- การพัฒนาอภิปัญญาของนักเรียนไทย 4.0 : การศึกษานำร่อง วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย- ดวงหทัย กาศวิบูลย์และคณะ
ผู้วิจัย : รศ.ดร.ดวงหทัย กาศวิบูลย์และคณะ   โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 227 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 34 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาอภิปัญญาในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย 2) ศึกษาแนวทางการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในการพัฒนาอภิปัญญาของนักเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย 3) เพื่อประเมินอภิปัญญาของนักเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาไทย

กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยนี้คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจํานวนทั้งสิ้น 15 คน (วิทยาศาสตร์ 5 คนคณิตศาสตร์ 5 คน ภาษาไทย 5 คน) โดยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ มาจากชั้นเรียนของนักศึกษาฯ คนละ 1 ห้องเรียน (ประมาณห้องเรียนละ 40 คน) รวมทั้งสิ้น 485 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562

ผลการวิจัย พบว่า

  1. องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาอภิปัญญาในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาไทยสามารถแบ่งออกได้ 6 ประเด็นหลักคือ 1.1 ความหมายกรอบแนวคิด และการประเมินอภิปัญญา 1.2 กลยุทธ์เชิงอภิปัญญาและการสอนเชิงอภิปัญญา1.3 การพัฒนาอภิปัญญาในทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1.4 การพัฒนาอภิปัญญาในทางคณิตศาสตรศึกษา 1.5 การพัฒนาอภิปัญญาในทางภาษา : การอ่าน และ 1.6) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอภิปัญญา
  2. แนวทางการใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณิตศาสตร์ในการพัฒนาอภิปัญญาของนักเรียน ประกอบด้วย 3 ระยะ (จาก 3 วงจรของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR)) คือ ระยะที่ 1 การปรับพื้นความรู้ ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาแผนฯ ที่ส่งเสริมอภิปัญญาของนักเรียน และระยะที่ 3 การสอนจริงตามแผนฯ ที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งในทั้ง 3 ระยะมีใช้การมีส่วนร่วมในการพัฒนา เช่น บรรยาย การอ่าน การอภิปราย การสังเกต การลงมือปฏิบัติ การวิพากษ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการสะท้อนคิด
  3. อภิปัญญาของนักเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์จากการทําแบบวัดอภิปัญญา โดยรวมพบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนคือ 3.66 และ 3.81 ทั้งนี้ได้ค่า Effect Size (d) เท่ากับ 0.35 อภิปัญญาของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์จากการทําแบบวัดอภิปัญญา โดยรวมพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนคือ 3.61 และ4.01 ทั้งนี้ได้ค่า Effect Size (d) เท่ากับ 0.44 อภิปัญญาของนักเรียนในวิชาภาษาไทยจากการทําแบบวัดอภิปัญญา โดยรวมพบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนคือ 3.74 และ 3.99 ทั้งนี้ได้ค่า Effect Size (d) เท่ากับ 0.31
  4. ความสัมพันธ์ของอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนของนักศึกษาวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 คน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s correlation coefficient) อยู่ในช่วง 0.31 – 0.62 ของนักศึกษาคณิตศาสตร์ทั้ง 5 คน พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในช่วง 0.33 – 0.77 ของนักศึกษาภาษาไทยทั้ง 5 คน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ในช่วง 0.25 – 0.68 ซึ่งภาพรวมของทั้ง 3 สาขาวิชา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในช่วง 0.25 – 0.77