EN/TH
EN/TH
กลุ่มความเชื่อและคุณธรรมศึกษา>คำพูดของชาวดิจิทัลไทย
คำพูดของชาวดิจิทัลไทย
โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 353 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 0 ครั้ง

ความแตกต่างของบริบทในแต่ละยุคแต่ละสมัยส่งผลให้ความคิดของคนแต่ละรุ่นมีความแตกต่างกัน คนรุ่นใหม่หรือที่เรียกว่าชาวดิจิทัลไทยจึงมีการมองโลกที่ไม่เหมือนกับคนรุ่นเก่า เรามาดูกันว่าความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ ในแง่ที่เกี่ยวกับคุณธรรม ค่านิยม หรือวัฒนธรรมแบบเดิมนั้นเป็นอย่างไร


สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทักษะความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีของคนรุ่นต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่าง “ประสบการณ์ชีวิตกับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี”

จึงไม่น่าเป็นที่แปลกใจว่าคนรุ่นใหม่ถึงถูกคาดหวังสูงต่อทักษะการใช้เทคโนโลยี ในทางตรงกันข้าม นิยาม “ความเป็นคนรุ่นเก่า” คือ“เป็นผู้ที่ไม่รู้เรื่องเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีไม่คล่อง ไม่เท่าทัน อาจตกเป็นเหยื่อในการโดนหลอกลวงและอาชญากรรมต่าง ๆ ได้ง่าย รวมถึงชอบพึ่งพาให้ผู้อื่น (คนรุ่นใหม่) ช่วยเหลือทางเทคโนโลยีให้”

ข้อพึงระวังในประเด็นความคาดหวังต่อทักษะวิถีเทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่นี้ คือการที่คนรุ่นใหม่ต้องแบกรับความกดดันในการพัฒนาศักยภาพตนเอง ที่ถูกคาดหวังเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ในขณะที่คนรุ่นเก่านอกจากจะถูกคาดหวังไม่มากนัก และไม่พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี ช่องว่างระหว่างรุ่นนี้ทำให้การทำงานระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่เกิดความเหลื่อมล้ำ เมื่อคนรุ่นเก่าใช้เทคโนโลยีได้ไม่คล่อง งานในส่วนนี้จึงตกมาเป็นภาระของคนรุ่นใหม่แทน



ผลลัพธ์จากนวัตกรรมการสื่อสารในยุคดิจิทัลโดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ต (internet) และเทคโนโลยีได้เข้ามาแทรกซึมในทุกส่วนของกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ ตามมาอีกเป็นระลอก ซึ่งสร้างความผลิกผันและปั่นป่วน หรือที่เรียกว่าเป็นภาวะ “Technological Disruption”

โดยอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบในการสื่อการ ค่านิยม ความเชื่อ ความคิดและอุดมการณ์ในการมองโลก รวมถึงสร้างพื้นที่ในการปฏิสังสรรค์เชิงสังคมรูปแบบใหม่ ๆ อีกทั้งยังมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของสมาชิกในสังคมจากรูปแบบออฟไลน์ (offline) ในพื้นที่แห่งความจริง มาเป็นรูปแบบออนไลน์ (online) บนพื้นที่สังคมเสมือนมากยิ่งขึ้น

การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อการประกอบสร้างตัวตนหรืออัตลักษณ์ของชาวดิจิทัลไทยรุ่นใหม่ รวมถึงเข้ามามีส่วนในการสร้างค่านิยมการเลือกรับหลักคุณธรรมที่หลากหลายมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ยึดติดอยู่กับชุดความคิดใดความคิดหนึ่งเฉกเช่นสังคมไทยในอดีต ดังที่สะท้อนผ่านคำพูดของชาวดิจิทัลรุ่นใหม่


“เราว่าคนรุ่นก่อนจะกลัวมากกว่า กลัวจากศาสนา คำพูดของคนอื่น มันเลยทำให้เขาแสดงออกแบบหนึ่ง เราว่าเมื่อก่อนศาสนามันมีบทบาทมาก ๆ มันก็เลยทำให้เขาทำแบบนั้น ยุคเรามันไม่ใช่เรื่องของความกลัวอีกแล้ว มันเป็นการคิดได้หรือเรื่องของสิทธิมากกว่า ที่เราควรจะเห็นคนอีกคนหนึ่งเป็นมนุษย์เหมือนกัน เราเลย treat เขาด้วยความเป็นมนุษย์มากกว่า”

(ชาวดิจิทัลรุ่นใหม่ เพศหญิง กทม. อายุ 19 – 23 ปี)