EN/TH
EN/TH
กลุ่มส่องโลกปริทรรศน์>ปัญหาหมอกควัน แก้ไขไม่ได้จริงหรือ?
ปัญหาหมอกควัน แก้ไขไม่ได้จริงหรือ?
โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 195 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 0 ครั้ง

ถึงแม้ว่าช่วงนี้จะเป็นช่วงหน้าฝนที่อากาศแสนดี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าแล้งหมอกควันก็จะกลับมาตามเดิม และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นทุกปี

ผศ.ดร.ศุทธินี ดนตรี ได้พยายามอธิบายถึงสาเหตุของปัญหา และค้นหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาหมอกควันดังกล่าว จะเป็นอย่างไรนั้น เชิญทุกท่านหาคำตอบ


ปัญหา “หมอกควัน” มีปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุ ดังนี้

‣สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

ที่เป็นสาเหตุของหมอกควัน เช่น สภาพภูมิประเทศแบบภูเขาสลับกับแอ่งที่ราบทำให้เกิดความเข้มข้นของฝุ่นละอองในแอ่งมาก และเกิดอุณหภูมิผกผัน (temperature inversion) ส่วนสภาพภูมิอากาศในเรื่องปริมาณน้ำฝนและความชื้น ระดับความสูง ความกดอากาศสูง หรือทิศด้านลาดที่ส่งผลต่อความแห้งแล้ง หมอกควันข้ามแดน เป็นต้น

‣ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

จากการที่ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอ ขาดแคลนที่ดินทำกิน ไม่มีเงินทุน แต่ละพื้นที่มีข้อจำกัดในการเลือกชนิดพืช และขาดความช่วยเหลือจากรัฐ ทำให้เกิดการกระทำที่เป็นสาเหตุของหมอกควันตามมา เช่น การเผาป่า การขยายพื้นที่่เพาะปลูก การกําจัดเศษพืชในไร่นา การเผาขยะ การควบคุมการใช้ไฟจากคนนอกพื้นที่่ไม่ได้ การกําจัดหญ้าในสวนป่า การกําจัดหญ้าข้างทาง มลภาวะจากยานพาหนะ มลภาวะจากโรงงาน เป็นต้น

‣ นโยบาย/มาตรการของรัฐ

ที่เป็นสาเหตุของหมอกควัน วิธีการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมจากท้องถิ่น เจ้าหน้าที่่/งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดความเข้าใจในมิติกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและความแตกต่างของพื้นที่ ขาดข้อมูลที่่จําเป็นต่อการตัดสินใจ ขาดการบูรณาการเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานที่่รับผิด ชอบและระหว่างพื้นที่่ข้ามแดน เป็นต้น


สำหรับแนวทางและนโยบายเพื่อไปสู่ “ประเทศไทยไร้หมอกควัน” เมื่อทบทวนแนวทางและนโยบายในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ในกรณีจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน ผศ.ดร.ศุทธินี ดนตรี มีข้อเสนอแนะ ดังนี้้

‣ เข้าใจนิยามไฟป่าและหมอกควัน เพื่อกำหนดเป้าหมายและวิธีการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริง

‣ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันให้เป็นระบบการทำงานบนฐานของชุมชนท้องถิ่น

‣ การแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม โดยบูรณาการแก้ไขปัญหาที่่เกี่ยวข้องกับหมอกควันไปพร้อมกับการแก้ไขรากเหง้าของปัญหาที่่แท้จริง

‣ ปรับการใช้ที่ดินบนพื้นที่สูง เช่น เปลี่ยนจากระบบเพาะปลูกเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรแบบเข้มและผสมผสาน

‣ มีการร่วมกันวางหลักการจัดการเชื้อเพลิงที่เหมาะสม

‣ วิจัยและสร้างนวัตกรรมใหม่ในการจัดการวัสดุทางการเกษตรที่เกษตรกรสามารถทำได้เอง

‣ เปลี่ยนากเผาไม่ควบคุม เป็นเผาเฉพาะที่จําเป็นโดยมีการควบคุมและใช้วิธีการที่่เหมาะสมเหมือนกันทุกพื้นที่