![konthai4.0 logo](structure/image/logo-ppsi-khonthai.png)
![](structure/image/icon/icon-hamburger.png)
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายถึงวิวัฒนาการทางการเกษตรตั้งแต่สมัยยุคปฎิวัติการเกษตร (Green Revolution) ซึ่งสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ได้นำมาใช้คือเรื่องเทคโนโลยี ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำเกษตรกรรมให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะพันธุวิศวกรรมในการปรับปรุงโครงสร้างภายในของพืช
แม้ว่าผลกระทบที่ตามมาคือการแตกความคิดเห็นที่ออกไปในทั้งในแง่ลบและแง่บวก แต่ยังต้องได้รับความรู้และการอธิบายที่ถูกต้องและสมเหตุสมผลบนพื้นฐานของความเป็นจริง ทั้งยังมีกรณีศึกษาจากหลากหลายประเทศบนโลกที่มีการผลิต หรือแม้กระทั่งนำเข้าพืชจีเอ็มโอ เพื่อรองรับจำนวนประชากรและความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในประเทศ
ผู้เขียนได้ย้อนกลับมาตั้งประเเด็นพิจารณาประเด็นสำคัญดังกล่าวในประเทศไทย ที่ยังต้องมีการพิจารณาให้มากขึ้น เมื่อมีการยกให้เกษตรอินทรีย์ กลายเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องส่งเสริม เพราะท้ายที่สุด แม้ว่าจะการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีประโยชน์มากมาย อย่างพืชไร่จีเอ็ม โอมาช่วยพัฒนาการเกษตรของไทย จะถูกจำกัดเอาไว้ ให้เหมือนถูกขังอยู่แค่ในโรงเรือนทดลองปลูก ไม่สามารถแม้แต่จะนำมาทดสอบในภาคสนาม แต่เราควรจะต้องยอมรับความจริงว่า เราได้นำเข้าสินค้าทางเกษตรที่เป็นจีเอ็มโอจากต่างประเทศ เป็นจำนวนนับหมื่นตันในแต่ละปี มานานนับสิบปีแล้ว