กับดักคู่ตรงข้ามทางความคิด
สวนของความหลงใหล
แม้โลกจะเปลี่ยนเป็นสังคมสมัยใหม่ที่มีเหตุมีผลแล้วก็ตาม แต่ก็ “ยังคงเป็นเสมือนสวนแห่งความหลงใหลอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง” (“the world remains a great enchanted garden”) (Weber 1964: 271)
ถ้าหากคนเรายึดมั่นถือมั่นอยู่กับหลักของเหตุและผลมากเกินไป เหตุผลนั้น ๆ อาจจะกลายเป็น “กรงขังเหล็ก” (Iron Cage) ที่มากักขังความคิดของเราก็ได้ (Weber 1958: 181-183) ซึ่งหมายความว่า การยึดมั่นอยู่กับความคิดของตัวเองเป็นหลักนั้น มักส่งผลให้ติดกับดักคู่ตรงข้าม เพราะจะเห็นความคิดอื่นอยู่ตรงข้ามกับความคิดของตนเองอยู่ร่ำไป
ทั้งไสยศาสตร์ ศาสนา และวิทยาศาสตร์ อาจจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของตรรกะที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ต่างก็ทําหน้าที่ลดความวิตกกังวลเหมือนกัน แม้จะใช้แนวทางในการอธิบายแตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น ชาวบ้านอธิบายแบบไสยศาสตร์ว่าการที่ฝนไม่ตกเป็นเพราะผีไม่พอใจ คนสมัยใหม่อธิบายแบบวิทยาศาสตร์ว่าการที่ฝนไม่ตกเพราะไม่มีเมฆ จะเห็นได้ว่ารูปแบบการอธิบายนั้นแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้และความเชื่อที่แตกต่างกันเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ความรู้ความเชื่อต่าง ๆ นั้น ต่างก็มีหน้าที่ลดความวิตกกังวล เช่นเดียวกัน
ในสมัยก่อนเราอาจจะคิดว่าไสยศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์ หรือโลกเหนือธรรมชาติเท่านั้น แต่ไสยศาสตร์ในโลกสมัยใหม่นี้มีนัยเป็นกลยุทธ์ทางโลก เฉกเช่นเดียวกับเราใช้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ
รับฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง "ความเชื่อในสังคมไทย กับวิทยาศาสตร์ พันธมิตร ปรปักษ์ หรืออยู่ร่วมแบบต่างๆ" ทาง Facebook live