EN/TH
EN/TH
กลุ่มส่องโลกปริทรรศน์>อ-การประเมินผลผลิตและผลลัพธ์งานวิจัยด้านการศึกษา เกษตร และอาหาร-อรุณี อินทรไพโรจน์
อ-การประเมินผลผลิตและผลลัพธ์งานวิจัยด้านการศึกษา เกษตร และอาหาร-อรุณี อินทรไพโรจน์
ผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์   โพสต์ เมื่อ 10 สิงหาคม 2022
จำนวนผู้เข้าชม 245 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 6 ครั้ง

การศึกษาเรื่อง “การประเมินผลผลิตและผลลัพธ์งานวิจัยด้านการศึกษา เกษตรและอาหาร” เป็นการสำรวจและทบทวนงานวิจัยด้านการศึกษาในรอบระยะเวลา 12 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2564 วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อให้เข้าใจงานวิจัยในสาขาดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้า เช่น งบประมาณการลงทุนด้านงานวิจัย จำนวนโครงการ จำนวนนักวิจัย หน่วยงานด้านการพัฒนางานวิจัย การนำความรู้ด้านงานวิจัยไปถ่ายทอดให้กับนิสิต นักศึกษา ผ่านการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รวมถึงการเผยแพร่งานวิจัยผ่านวารสารวิจัย

การประมวลผลข้อมูลและความรู้แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ โครงการวิจัย งานวิทยานิพนธ์ และงานเผยแพร่บทความวิชาการ การศึกษาใช้ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลหลัก 3 ระบบได้แก่ ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย (ThaiLIS) และระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (ThaiJo)

ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อประเมินผลผลิตและผลลัพธ์งานวิจัยด้านการศึกษา เกษตร อาหาร สังคม และ วิทยาศาสตร์การแพทย์ รวม 5 สาขา ข้อมูลที่ใช้ศึกษาภายหลังจากผ่านกระบวนการทำความสะอาดประกอบด้วย โครงการวิจัยรวม 31,509 โครงการ ดำเนินการโดยนักวิจัยจานวน 89,322 คน และงบประมาณรวม 22,401.0 ล้าน วิทยานิพนธ์และผู้เขียนจำนวน 64,261 รายการ/ คน บทความวิชาการจำนวน 106,204 บทความ และผู้เขียนบทความจำนวน 246,027 คน

ผลลัพธ์ที่ได้ในภาพรวมโครงการวิจัยทั้ง 5 สาขา (ระหว่าง พ.ศ. 2553-2561) สามารถสรุปได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยโครงการวิจัยต่อปี 3,501 โครงการ ค่าเฉลี่ยงบประมาณวิจัยต่อปี 2,489.2 ล้านบาท จำนวนนักวิจัยต่อโครงการ (รวมการนับซ้ำ) 2.8 คน/ โครงการ จำนวนนักวิจัยต่อโครงการ (หักการนับซ้ำ) 1.3 คน/ โครงการ งบประมาณวิจัยต่อโครงการวิจัย 7.1 แสนบาท งบประมาณวิจัยต่อนักวิจัย 1 คน (หักการนับซ้ำ) 5.6 แสนบาท

ผลการศึกษาภาพรวมวิทยานิพนธ์พบว่าสาขาการศึกษามีจำนวนสูงสุด 33,637 รายการ รองลงมาเป็นสาขาสังคม วิทยานิพนธ์สาขาการศึกษาและสังคมมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง วิทยานิพนธ์สาขาอาหารและสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์มีจำนวนไม่มากนักแต่จำนวนค่อนข้างคงที่เมื่อเปรียบเทียบกับวิทยานิพนธ์สาขาอื่น

ผลการศึกษาภาพรวมด้านบทความทางวิชาการพบว่า วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพ (TCI) มีจำนวน 241 วารสาร (ร้อยละ 26.8) จาก 899 วารสาร บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ (TCI 1) มีจำนวน 36,102 บทความ (ร้อยละ 34.0) ของบทความทั้งหมด จากผู้เขียนบทความวิชาการ 92,697 คน (ร้อยละ 37.7) (ยังไม่หักการนับซ้ำ)

งานวิจัยส่วนใหญ่ ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านวิชาการเป็นหลัก (ร้อยละ 76.8) รองลงมาเป็นด้านสังคมและชุมชน ด้านเศรษฐกิจ-พาณิชย์-อุตสาหกรรม และด้านนโยบาย งานวิจัยสาขาอาหารถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ พาณิชย์ อุตสาหกรรม และ งานวิจัยสาขาการศึกษาถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์เชิงนโยบาย

การกระจุกตัวของงานวิจัยในเชิงพื้นที่สาขาการศึกษามีการกระจายตัวของงานวิจัยอยู่ทั่วประเทศโดยเฉพาะเป็นการวิจัยจากกลุ่มโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา มีการกระจุกตัวเชิงพื้นที่มากที่สุดอยู่ที่กรุงเทพมหานคร งานวิจัยสาขาการเกษตรส่วนใหญ่จะไม่ระบุพื้นที่เพราะเป็นการวิจัยในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เป็นการศึกษาในภาพรวม หรืองานที่ไม่ต้องระบุพื้นที่ งานวิจัยอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด การกระจุกตัวของงานวิจัยสาขาอาหารมีลักษณะเช่นเดียวกับสาขาเกษตรคือไม่ระบุพื้นที่ การทางานวิจัยกระจุกตัวที่กรุงเทพมหานครมากที่สุด

ความชุกของของหัวข้อวิจัยสาขาการศึกษา ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารการศึกษา การบริหารงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาบทเรียน การมีส่วนร่วม การประกันคุณภาพ เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์สาขาการเกษตรที่มีงานวิจัยมากที่สุดคือข้าว ปุ๋ย อาหาร ปลา ยางพารา มันสาปะหลัง อ้อย เป็นต้น ประเด็นวิจัยที่เกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินงาน ได้แก่ การผลิต การเจริญเติบโต การปลูก การวิจัยและพัฒนา การใช้ประโยชน์ การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงพันธ์ การเพาะเลี้ยง การอนุรักษ์พันธุกรรม

ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีงานวิจัยมากที่สุด ได้แก่ อาหาร ข้าว เครื่องดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้านอาหาร ข้าวกล้อง ขนม เป็นต้น ประเด็นวิจัยที่เกี่ยวกับการดำเนินการกิจกรรมด้านอาหาร ได้แก่ การผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมการบริโภค การแปรรูป กระบวนการผลิต การยืดอายุการเก็บรักษา เป็นต้น