EN/TH
EN/TH
กลุ่มนโยบายสาธารณะและกฎหมาย>จ-การพัฒนาสมรรถนะของเยาวชน เพื่อการเชื่อมต่อข้อกลางของโซ่อุปทานธุรกิจชุมชน-จงกล พรมยะ
จ-การพัฒนาสมรรถนะของเยาวชน เพื่อการเชื่อมต่อข้อกลางของโซ่อุปทานธุรกิจชุมชน-จงกล พรมยะ
ผู้วิจัย : ว่าที่ร้อยตรี รศ.ดร.จงกล พรมยะ   โพสต์ เมื่อ 06 มิถุนายน 2022
จำนวนผู้เข้าชม 162 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 3 ครั้ง

การศึกษาเรื่องแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับสมรรถนะเยาวชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ

1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะเยาวชนให้เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมและทำหน้าที่เป็นโซ่ข้อกลางของธุรกิจชุมชนเกษตร (กาแฟ โกโก้ และโคเนื้อ)

2) เสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาเยาวชน และการพัฒนาธุรกิจชุมชนเกษตรบนความยั่งยืนของเศรษฐกิจ และสังคมที่สอดคล้องกับภูมินิเวศบนพื้นที่สูง

คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างมาจากคน 104 คน จากชุมชน หน่วยงานสนับสนุน และเยาวชนที่สนใจเป็นผู้ประกอบการและทำงานร่วมกับชุมชนของตน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะและทักษะของเยาวชนให้ทำหน้าที่เป็นโซ่ข้อกลางในโซ่อุปทานการผลิตสินค้าของชุมชน ดำเนินการตามกิจกรรมย่อย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม Design thinking การออกแบบโมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) และบัญชีครัวเรือนแบบง่าย การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ และการทดสอบตลาด ซึ่งผลการดำเนินงาน พบว่า

1. ธุรกิจชุมชนกาแฟ เยาวชนบ้านน้ำพันสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์กาแฟ แบรนด์บ้านป่า ปริมาณธุรกิจ 232,928 บาท มีกำไร 56,135 บาท (ร้อยละ 24.10)

2. ธุรกิจชุมชนโกโก้ เยาวชนบ้านน้ำพัน และบ้านปางปุก สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์โกโก้ แบรนด์ “โกโก้บ้านป่า” ปริมาณธุรกิจ 61,485 บาท มีกำไร 21,269.26 (ร้อยละ 34.59)

3. ธุรกิจชุมชนโคเนื้อ เยาวชนบ้างปางช้าง และบ้านศิลาเพชร ทำการตลาดโคมีชีวิต และ ผู้ประกอบการเขียงในพื้นที่ และตลาดออนไลน์มีปริมาณธุรกิจ 1,317,279.40 บาท มีกำไร 60,621.40 อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 4.60

การพัฒนาสมรรถนะ เยาวชนมีสมรรถะและทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ เยาวชนร้อยละ 17 มีสมรรถนะด้าน ดิจิทัล เยาวชนร้อยละ 17 มีสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ เยาวชนร้อยละ 30 มีสมรรถนะเชิงสังคม/วัฒนธรรม และเยาวชนร้อยละ 30 มีสมรรถนะด้านจิตสาธารณะ

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาเยาวชน และการพัฒนาธุรกิจชุมชนเกษตรบนความยั่งยืนของเศรษฐกิจ และสังคมที่สอดคล้องกับภูมินิเวศบนพื้นที่สูง ดังนี้

1. หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง (สำนักงานเกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัดน่าน และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (CPF) จะต้องมีการเพิ่มองค์ความรู้เทคนิค การสร้าง platforms การตลาดออนไลน์ แก่เยาวชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เยาวชนช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ปัญหาด้านการตลาด และการสร้างเครือข่ายการตลาด

2. หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยเยาวชนในชุมชนอย่างต่อเนื่องในการ สร้างเครือข่ายผู้ประกอบด้านการตลาด และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสินค้าชุมชน เพื่อสะดวกต่อการค้าขายแก่เยาวชน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแก้ปัญหาด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง

3. ส่วนราชการจังหวัดที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เข้ามาเชื่อมโยงกับเยาวชนเพื่อทำการส่งเสริมการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในงานท่องเที่ยวต่าง ๆ เชื่อมโยงให้เยาวชนได้นำเสนอและจำหน่ายสินค้าชุมชน