EN/TH
EN/TH
กลุ่มส่องโลกปริทรรศน์>ช-การสื่อสารดิจิทัลระหว่างรุ่นอายุกับการเปลี่ยนแปลงของคุณค่าสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล-ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา
ช-การสื่อสารดิจิทัลระหว่างรุ่นอายุกับการเปลี่ยนแปลงของคุณค่าสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล-ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา
ผู้วิจัย : ผศ.ดร. ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา   โพสต์ เมื่อ 26 เมษายน 2022
จำนวนผู้เข้าชม 266 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 17 ครั้ง

ภายใต้ระบบนิเวศสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป คนในแต่ละรุ่นอายุมีกิจกรรมการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นผ่านพื้นที่สื่อดิจิทัล ทว่าแต่ละรุ่นอายุก็มีกรอบประสบการณ์ร่วมกันในช่วงเวลาที่เติบโตมา ทำให้การให้คุณค่าและมุมมองที่มีต่อโลกแตกต่างกันระหว่างกลุ่มรุ่นอายุจึงทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างรุ่นในพื้นที่การสื่อสารด้วย บทความนี้จึงมุ่งที่จะทำความเข้าใจความแตกต่างดังกล่าวโดยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่มีการเผยแพร่ทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย และวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล เพื่อฉายภาพให้เห็นถึงสภาวการณ์ปัจจุบันของความเป็นพลเมืองดิจิทัลในคนแต่ละรุ่นอายุ และมองหาช่องว่างทางความรู้ที่จำเป็นสำหรับการลดความแตกต่างและการพัฒนาคนในทุกรุ่นอายุในสังคมไทยให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล

ผลโดยสังเขป พบว่า การศึกษาที่ผ่านมาจำนวนมากได้อธิบายสภาวการณ์ของความเป็นพลเมืองในแต่ละรุ่นอายุในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองและความสัมพันธกับผูอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการรู้เท่าทันดิจิทัลและการสื่อสารดิจิทัล โดยทุกกลุ่มรุ่นอายุมีพัฒนาการของระดับของการรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลที่ดีขึ้น แต่ก็มีความสามารถในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่นวัย และก็ยังคงพบว่าทุกรุ่นอายุนั้นเผชิญปัญหาด้านเนื้อหา ความเสี่ยงและภัยออนไลน์ที่แตกต่างกันไป

ส่วนสภาวการณ์ของความเป็นพลเมืองในแต่ละรุ่นอายุในด้านการมีความเคารพต่อตนเองและผู้อื่นในโลกดิจิทัล และด้านการปกปองตนเองและปกปองผูอื่นนั้น พบว่ามีการศึกษาที่จำกัดอยู่ โดยงานที่ผ่านมาช่วยให้เห็นปัญหาที่เกิดจากการขาดความเป็นพลเมืองในสองด้านนี้ของบางรุ่นอายุ เช่น ปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ ปัญหาประทุษวาจา และพบว่าแต่ละรุ่นอายุมีความเหลื่อมล้ำในมิติของผลประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นในโลกออฟไลน์

การสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลนั้น ไม่เพียงแค่การสร้างเสริมทักษะและสมรรถนะในระดับบุคคลเท่านั้น แต่จำเป็นต้องอาศัย “ปัจจัยแวดล้อม” ที่สำคัญคือ เพื่อน คนในครอบครัว สังคมในระดับโรงเรียนและชุมชน ที่จะเชื่อมโยงกันในนิเวศสื่อทั้งในพื้นที่การสื่อสารดิจิทัลและพื้นที่ออฟไลน์ คนในทุกช่วงวัยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและมีส่วนเสริมหรือลดความเป็นพลเมืองดิจิทัลได้ จึงควรเพิ่มมิติของการศึกษาระหว่างรุ่นวัยที่เชื่อมโยงว่าแต่ละรุ่นวัยมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอย่างไรในการแก้ไขปัญหา หรือมีบทบาทอย่างไรในการสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยเฉพาะในด้านของการสร้างวัฒนธรรมออนไลน์ที่ตระหนักถึงความเคารพต่อตนเองและผู้อื่น และรู้จักปกปองตนเองและผู้อื่น

คำสำคัญ การสื่อสารดิจิทัล การสื่อสารระหว่างรุ่นอายุความเป็นพลเมืองดิจิทัล รุ่นอายุการรู้เท่าทันดิจิทัล