วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีใหม่พลิกโลก (disruptive science and technology) ด้วยองค์ประกอบ ได้แก่ วิทยาการสารสนเทศและการสื่อสาร และคอมพิวเตอร์อัจริยะ ที่มีความสามารถในการจัดการและวิเคราะห์คานวณโดยเฉพาะฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ที่ซับซ้อน และสื่อสารส่งมือผู้ใช้ได้ในทัน มีโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรมหาศาล การประเมินถึงโอกาสและข้อจำกัดในการที่เกษตรกรรมไทยจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเกษตร-ไอที (IT หรือ ICT information and communication technology) และเกษตร-เอไอ (artificial intelligence – AI, computer analytics, machine learning) จะเริ่มด้วยการพิจารณาถึงลักษณะพื้นฐานของเกษตรกรรมและเกษตรกรไทยในยุค 2560 ตามด้วยบทบาทและศักยภาพของเครื่องมือเกษตร-ไอทีและเกษตร-เอไอ ในการเพิ่มความแม่นยาในเกษตรกรรม (precision agriculture) ที่จะส่งผลในการลดความเสี่ยงในการจัดการในฟาร์มในกิจการหลังการเก็บเกี่ยวและห่วงโซ่มูลค่าอาหารลงท้ายข้อเสนอแนะเพื่อการลงทุนสาธารณะในด้านการวิจัย-พัฒนา รวมทั้งการศึกษาและพัฒนาบุคลากร