EN/TH
EN/TH
กลุ่มส่องโลกปริทรรศน์>การตัดสินใจในระยะท้ายของชีวิตกับสังคมไทย: บทเรียนจากประสบการณ์ของต่างประเทศ-นพพล วิทย์วรพงศ์
การตัดสินใจในระยะท้ายของชีวิตกับสังคมไทย: บทเรียนจากประสบการณ์ของต่างประเทศ-นพพล วิทย์วรพงศ์
ผู้วิจัย : รศ.ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์   โพสต์ เมื่อ 13 เมษายน 2021
จำนวนผู้เข้าชม 207 ครั้ง, จำนวนดาวน์โหลด 2 ครั้ง

การศึกษาเรื่อง “การตัดสินใจในระยะท้ายของชีวิตกับสังคมไทย: บทเรียนจากประสบการณ์ของต่างประเทศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรายละเอียดของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกในการยุติชีวิตของผู้ป่วยระยะท้ายในต่างประเทศ และเพื่อประเมินในเบื้องต้นถึงความเป็นไปได้ในการดําเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกในการยุติชีวิตของผู้ป่วยระยะท้ายในรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งนี้ “ทางเลือกในการยุติชีวิต” ในการศึกษานี้ครอบคลุมเฉพาะทางเลือกที่ต้องมีกฎหมายรองรับและเกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยระยะท้าย และไม่เกี่ยวข้องกับวิถีการตายรูปแบบอื่น อันรวมถึง “การตายดี” ตามมุมมองด้านความเชื่อทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรม ที่มักเกิดขึ้นที่บ้าน และไม่เกี่ยวข้องกับแพทย์

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกในประเทศไทยที่พิจารณาทางเลือกในการยุติชีวิตในฐานะนโยบายสาธารณะ (Public Policy) โดยใช้กรอบแนวคิดด้านการวิเคราะห์นโยบายเป็นหลัก และไม่ได้ครอบคลุมในรายละเอียดถึงการถกเถียงในด้านความถูกต้องของการยุติชีวิตในเชิงจริยศาสตร์หรือศาสนา ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษานี้คือ การปริทัศน์วรรณกรรมและกระบวนการกรณีศึกษา ครอบคลุมงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกรณีศึกษา อันได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศแคนาดา จํานวนทั้งหมด 101 ชิ้น คัดกรองจากงานวิจัย 310 ชิ้น ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ฐานข้อมูล PubMed และฐานข้อมูล Google Scholar และใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์อีก 29 แห่ง รวมทั้งมีการสืบค้นข้อมูลจาก World Values Surveys, Economist Intelligence Unit, LBGT International และ Google Trends เพิ่มเติม เพื่อให้การศึกษานี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่รวบรวมไว้ในการศึกษานี้เป็นงานวิจัยของผู้เขียน ได้แก่ พัชราวลัย วงศ์บุญสิน และคณะ (พ.ศ. 2558) นพพล วิทย์วรพงศ์ และสมทิพ วัฒนพงษ์วานิช (พ.ศ. 2560) Pimpawatin and Witvorapong (2020) และ Witvorapong (2015)

อ่านในรูปแบบ E-book การตัดสินใจระยะท้ายฯ